ผลของโปรแกรม TABATA ประยุกต์ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดโบสถ์ (อินทร์บุรี)

Main Article Content

ลภัสนันท์ ตั้งนิติพิฐจักร
สมบัติ อ่อนศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม TABATA ประยุกต์ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดโบสถ์ (อินทร์บุรี) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชาย
และหญิง จำนวน 40 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 20 คน ที่ออกกำลังกายแบบโปรแกรม TABATA ประยุกต์ กลุ่มควบคุม 20 คน ที่ออกกำลังกายแบบปกติ โดยฝึกเป็นเวลา
8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน เครื่องมือที่ใช้คือ โปรแกรม TABATA ประยุกต์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้านความตรงเฉพาะหน้า (Face validity) โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน และแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนระดับประถมศึกษา อายุ 7 – 12 ปี ของกรมพลศึกษา โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ค่า “ที”


ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ก่อนการฝึกสัปดาห์ที่ 1 ไม่แตกต่างกัน 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 รายการลุก - นั่ง 30 วินาที   ดันพื้นประยุกต์ 60 วินาที ยืนยกเข่า 3 นาที แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนรายการ ดัชนีมวลกายและนั่งงอตัวไปข้างหน้า ไม่แตกต่างกัน 3) ค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพภายในกลุ่มทดลองก่อนการฝึกสัปดาห์ที่ 1 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพภายในกลุ่มควบคุม
ก่อนการฝึกสัปดาห์ที่ 1 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 รายการนั่งงอตัวไปข้างหน้า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนรายการดัชนีมวลกาย ลุก - นั่ง 30 วินาที ดันพื้นประยุกต์ 60 วินาที ยืนยกเข่า 3 นาทีไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา. กรุงเทพ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

ธวัชชัย วรพงศธร. (2540). หลักการวิจัยทางสาธารณสุขศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2543). พรมแดนความรู้ด้านการวิจัยและสถิติ. ชลบุรี: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2530). จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ ประกายพรึก.

ศุภวรรณ วงศ์สร้างทรัพย์ (2551). ผลของการฝึกโปรแกรมการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาพลศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สิงหา ตุลยกุล (2552). ผลของการใช้โปรแกรมการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายที่มีต่อความสามารถของนักกีฬาเปตอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาพลศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของนักเรียนระดับประถมศึกษา (อายุ 7-12 ปี). นนทบุรี: สำนักพิมพ์ สัมปชัญญะ.

วิรัตน์ สนธิ์จันทร์ และปทุม ม่วงมี (2556). ผลของการฝึกแบบอินเทอร์วาล ในระดับความหนักและระยะเวลาต่างกันที่มีต่อความสามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนไปใช้ปริมาณฮีโมโกลบินสมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิกและแอนแอโรบิกเทรชโฮล. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 8(1), 68-79.

วุฒิพงษ์ ปรมัตถากร และอารี ปรมัตถากร. (2537). วิทยาศาสตรการกีฬา. กรุงเทพฯ: บริษัทสำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช จํากัด.

Fatima, G., Qamar, M. M., Hassan, J. U., & Basharat, A. (2017). Extended sitting can cause hamstring tightness. Saudi Journal of Sports Medicine, 17(2), 110.

Izumi Tabata. (2020). Tabata Exercise Program. Retrieved 23 February 2021, from https://sportathlon.wordpress.com.

Owen, N., Healy, G. N., Matthews, C. E., Dunstan, D. W. J. E., & reviews, s. s. (2010). Too much sitting: the population-health science of sedentary behavior. Exercise and sport sciences reviews, 38(3), 105.

Powers, S. K., Howley, E. T., Cotter, J., De Jonge, X. J., Leicht, A., Mündel, T., Rattray, B. (2014). Exercise Physiology. Australia/New Zealand: McGraw-Hill Education.

Powers, S.K., and S.L. Dodd, (2009). Total Fitness and Wellness. New York: Pearson Benjamin Coming’s.

Trapp, E. G., Chisholm, D. J., Freund, J., & Boutcher, S. H. (2008). The effects of high-intensity intermittent exercise training on fat loss and fasting insulin levels of young women. International journal of obesity, 32(4), 684-691.