ผลของโปรแกรมการฝึกด้วยยางยืดแบบวงจรที่มีต่อความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจและความอดทนของกล้ามเนื้อของนักกีฬาเทเบิลเทนนิส

Main Article Content

รัชตานนท์ พิมพ์สอน
นาทรพี ผลใหญ่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกด้วยยางยืดแบบวงจรที่มีผลต่อความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจและความอดทนของกล้ามเนื้อและของนักกีฬาเทเบิลเทนนิสระดับเยาวชน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาเทเบิลเทนนิสระดับเยาวชน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มควบคุม จำนวน 14 คน กลุ่มทดลอง จำนวน 14 คน โดยกลุ่มควบคุมฝึกซ้อมกีฬาตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองฝึกซ้อมกีฬาตามปกติควบคู่กับโปรแกรมการฝึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 10 สถานี ฝึกเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วันฝึกวันละ 60 นาที ซึ่งโปรแกรมการฝึกผ่านการตรวจคุณภาพเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มตัวอย่างทดสอบความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจและความอดทนของกล้ามเนื้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (Dependent t-test) ก่อนและหลังการฝึก 8 สัปดาห์ของแต่ละกลุ่มและทดสอบค่า ที (Independent t-test) หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม


          ภายหลังหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจและความอดทนของกล้ามเนื้อ ของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้น ผลการทดสอบดีกว่าก่อนการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ผลปรากฏว่า กลุ่มทดลองแตกต่างกับกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจริญ กระบวนรัตน์. (2544). การอบรมเชิงปฏิบัติการ การฝึกกล้ามเนื้อด้วยการยกน้ำหนัก. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2550). ยางยืดชีวิตพิชิตโรค. กรุงเทพฯ: แกรนด์สปอร์ต กรุ๊ปจำกัด.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2557). วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา (Science of Coaching). กรุงเทพฯ: สิทธนาก๊อปปี้ เซ็นเตอร์ จำกัด.

สนธยา สีละมาด. (2555). หลักการฝึกกีฬาสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). การทดสอบสมรรถภาพทางกายภาคสนาม กีฬาฟุตบอล-ฟุตซอล วอลเลย์บอล แบดมินตัน. กรุงเทพฯ. กู๊ดอีฟนิ่งติงค์ จำกัด.

สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษา (อายุ13-18 ปี). กรงเทพฯ. โอเคแมส จำกัด.

เอกวิทย์ แสวงผล. (2535). ผลของการฝึกยกน้ำหนักแบบวงจรที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และความอดทนของกล้ามเนื้อ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตมหาบัณฑิต). สาขาพลศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Bailey A., A. Le Couteur, I. Gottesman, P. Bolton, E. Simonoff, E. Yuzda & M. Rutter. (1995). Autism as a strongly genetic disorder : Evidence from a British twin study. Psychologacal Medicine, 25(1), 63-77.

Mertens, R. 2004. Successful coaching (3rd ed. ). Champaign, Human Kinetics.

Miran Kondric. (2013). The Physiological Demands of Table-tennis. Journal of Sports Science & Medicine, 12(3), 362-370.