ผลของปริมาณการฝึกที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อ

Main Article Content

วีรพงษ์ ไชยเพศ
นาทรพี ผลใหญ่

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการปริมาณการฝึกที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อและเพื่อเปรียบเทียบผลของปริมาณการฝึกที่ฝึกด้วยน้ำหนัก ความหนัก 75% ของ 1 RM กับกลุ่มที่ฝึกด้วยน้ำหนักความหนักน้อยกว่า 75% ของ 1 RM แต่ปริมาณงานการฝึกทั้งหมดของทั้งสองกลุ่มเท่ากัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นอาสาสมัครนิสิตชายชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณสงขลา จำนวน 30 คน 3 กลุ่ม ๆ ละ 10 คน ประกอบด้วย กลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองที่ 1 ฝึกด้วยน้ำหนัก ที่ความหนัก 75% ของ 1 RM กลุ่มทดลองที่ 2 ฝึกด้วยน้ำหนัก ที่ความหนักน้อยกว่า 75% ของ 1 RM สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวน และวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการฝึก 


           ผลการวิจัยหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยเส้นรอบวงของกล้ามเนื้อหัวไหล่ เส้นรอบวงของกล้ามเนื้อหน้าอก เส้นรอบวงของกล้ามเนื้อต้นแขน และเส้นรอบวงของกล้ามเนื้อต้นขา มีพัฒนาการในการเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการฝึกตามโปรแกรม ซึ่งส่งผลให้มีการขยายพื้นที่หน้าตัดของกล้ามเนื้อทำให้กล้ามเนื้อมีการขยายขนาด 2) ค่าเฉลี่ยของมวลกล้ามเนื้อ พบว่า กลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 แตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 มีมวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นไม่แตกต่างกัน 3) ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อช่วงบน (1 RM ท่า Smith Machine Bench Press) และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อช่วงล่าง (1 RM ท่า Smith Machine Squat) มีการพัฒนาที่ดีขึ้นกว่าก่อนการฝึก ซึ่งทำให้เห็นว่าโปรแกรมการฝึกด้วยน้ำหนัก (Weight Training) ทั้งสองโปรแกรม คือ ความหนักที่ 75% ของ 1 RM กับ ความหนักที่ 50% ของ 1 RM สามารถพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อทั้งช่วงบนและช่วงล่างได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจริญ กระบวนรัตน์. (2538). การปรับสภาพของกล้ามเนื้อในการฝึกความแข็งแรง. กรุงเทพฯ: คณะศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2544). การฝึกกล้ามเนื้อโดยการยกน้ำหนัก. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาสาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชูศักดิ์ เวชแพศย์ และ กันยา ปาละวิวัธน์. (2536). สรีรวิทยาการออกกำลังกาย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ธีระศักดิ์ อาภาวัฒนาสกุล. (2552). หลักวิทยาศาสตร์ในการฝึกกีฬา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สบสันติ์ มหานิยม. (2555). ผลของการฝึกด้วยน้ำหนักที่มีต่อสมรรถภาพทางกายและสัดส่วนร่างกายของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการฝึกด้วยน้ำหนัก. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เอกวิทย์ แสวงผล. (2535). ผลของการฝึกยกน้ำหนักแบบวงจรที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความอดทนของกล้ามเนื้อ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Aguiar, A. F., Buzzachera, C. F., Pereira, R. M., Sanches, V. C., Januario, R. B., Da Silva, R. A., Rabelo, L.M., Oliveira Gil, A. W. (2015). A single set of exhaustive exercise before resistance training improves muscular performance in young men. Eur J Appl Physiol, 115(7), 1589-1599.

Baechle, T. R., & Earle, R. W. (2008). Essentials of strength training and conditioning (3rd ed). Champaign, IL: Human Kinetics.

Haff, G., & Triplett, N. T. (2016). Essentials of strength training and conditioning. Fourth edition. Champaign, IL: Human Kinetics.

Lasevicius, T., Ugrinowitsch, C., Schoenfeld, B. J., Roschel, H., Tavares, L. D., De Souza, E. O., Laurentino, G., Tricoli, V. (2018). Effects of different intensities of resistance training with equated volume load on muscle strength and hypertrophy. Eur J Sport Sci, 18(6), 772-780.

Morton, R. W., Oikawa, S. Y., Wavell, C. G., Mazara, N., McGlory, C., Quadrilatero, J., Baechler, B.L., Baker, S.K., Phillips, S. M. (2016). Neither load nor systemic hormones determine resistance training-mediated hypertrophy strength gains in resistance-trained young men. J Appl Physiol (1985), 121(1), 129-138.

Schoenfeld, B. J., Peterson, M. D., Ogborn, D., Contreras, B., and Sonmez, G. T. (2015). Effects of low- vs high-load resistance training on muscle strength and hypertrophy in well-trained men. The Journal of Strength and Conditioning Research, 29.

Shoepe T. C., Vejarano G., Reyes N. P., Gobreial M. N., & M., a. R. J. (2017). Volume Estimations for Combined Free-Weight and Rubber-Band Resistant Exercise. Kinesiology 49(2), 169-177.

Sooneste, H., Tanimoto, M., Kakigi, R., Saga, N., & Katamoto, S. (2014). Effect of training volume on strength and hypertrophy in young men. The Journal of Strength and Conditioning Research, 27(1), 8-13.