ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อของนักเรียนโรงเรียนกีฬา สังกัดสถาบันการพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

Main Article Content

ศศิพร จันทร์ศรี
เพิ่มพร บุพพวงษ์

บทคัดย่อ

              การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อของนักเรียนโรงเรียนกีฬา สังกัดสถาบันการพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกีฬา สังกัดสถาบันการพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นชาย จำนวน 211 คน เป็นหญิง จำนวน 139 คน รวมทั้งสิ้น 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อโรงเรียนกีฬา สังกัดสถาบันการพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบสอบถามดังกล่าวประกอบด้วย ปัจจัย 2 ด้าน คือ (1) ปัจจัยภายใน ประกอบด้วย ลักษณะมุ่งอนาคต และทัศนคติด้านกีฬา (2) ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย และอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม สื่อและอุปกรณ์ภายในโรงเรียน และชื่อเสียงโรงเรียนกีฬา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test)


              ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยภายในด้านลักษณะมุ่งอนาคต มีแรงจูงใจในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.79 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ .50 ปัจจัยภายในด้านทัศนคติด้านกีฬาที่ มีแรงจูงใจในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.70 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ .53 ปัจจัยภายนอกด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม สื่อ และอุปกรณ์ภายในโรงเรียน มีแรงจูงใจในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.66 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ .56 ปัจจัยภายนอกด้านชื่อเสียงโรงเรียน มีแรงจูงใจในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.60 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ .56


               ผลการเปรียบเทียบปัจจัยใน และปัจจัยภายนอก จำแนกตาม เพศ ระดับชั้น ภูมิลำเนาของนักเรียน พบว่า ไม่แตกต่างอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ รุ่งอดุลพิศาล. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมาเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในรายวิชาการจัดการ และพฤติกรรมองค์การ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. (2544). จิตวทิยาการศึกษาฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

บุญส่ง ศีสายัณห์. (2546). ความพึงพอใจของผู้ปกตริงนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานโรงเรียนบ้านป่าบง สำนักงานประถมศึกษาอำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). เชียงราย. สถาบันราชภัฎเชียงราย.

วิลาวัลย์ นามวงศ์. (2551). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกรตัดสินใจของนักเรียนในการเลือกศึกษาต่อหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ โรงเรียนสารภีพิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2552). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Maslow, Abraham. (1994). Motivation and Personality. New York: Harper & Row Publisers Inc.

Mc Clelland, David C, and other. (1953). The Achievement Motives. New York: Applentoncentury Groffs Ing.

Mischel, W. (1974). Processes in Delay of Gratification, “In L. Berkowitz (ed) Advances in Experimental Social Phychology. Vol.7. New York: Academic Press.

Nurmi J.E. (1991). “How Do Adolescents See Their Future? A Review of the Development of Future Orientation and Planning, “Development Review. 11: 1-5.