การสร้างเครื่องทดสอบเวลาตอบสนองในกีฬาดาบสากลประเภทเซเบอร์

Main Article Content

วิทยา แก้วบังตู
สมบัติ อ่อนศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครื่องทดสอบเวลาตอบสนองในกีฬาดาบสากลประเภทเซเบอร์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นนักกีฬาดาบสากลประเภทเซเบอร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน จำนวน 20 คน โดยเครื่องทดสอบเวลาตอบสนองในกีฬาดาบสากลประเภทเซเบอร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นผ่านการตรวจคุณภาพเครื่องมือ 2 ด้าน คือ 1. หาความตรงเฉพาะหน้า (face validity) โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน 2. หาความเชื่อถือได้ (reliability) โดยวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson product moment correlation coefficient)


ผลการวิจัยพบว่าเครื่องทดสอบเวลาตอบสนองในกีฬาดาบสากลประเภทเซเบอร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความตรงเฉพาะหน้าเท่ากับ 1.0 ซึ่งอยู่ในระดับดีมากและมีค่าความเชื่อถือได้จากการทดสอบซ้ำเท่ากับ .892 ซึ่งอยู่ในระดับดี


สรุปได้ว่า เครื่องทดสอบเวลาตอบสนองในกีฬาดาบสากลประเภทเซเบอร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ทดสอบเวลาตอบสนองในกีฬาดาบสากลประเภทเซเบอร์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกียรติขจร ก่อเกียรติพิทักษ. (2557). ผลของการฝึกสมาธิแบบไท้เก๊กที่ส่งผลต่อความแม่นยำในการแทงเป้าดาบฟอยล์และดาบเอเป้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2557). วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา : Science of Coaching. กรุงเทพฯ: บริษัท สินธนาก๊อปปี้เซ็นเตอร์ จำกัด.

ณัฐวุฒิ ไวโรจนานันต์. (2559). การสร้างเครื่องทดสอบเวลาปฏิกิริยาการตอบสนองของการทำงานระหว่างตากับการเคลื่อนไหวของร่างกายไปยังตำแหน่งเป้าหมายเพื่อใช้ในกีฬาแบดมินตัน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุญส่ง โกสะ. (2542). วิธีวิจัยทางพลศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน.

______. (2547). การวัดผลและประเมินผลทางพลศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมาคมฟันดาบแห่งประเทศไทยฯ. (2552ก). ประเภทกีฬาดาบสากล. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2562, สืบค้นจาก http://www.thaifencing.org/extensions.html.

______. (2552ข). OPEN EYES ATTACKS. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2562, สืบค้นจาก http://thaifencing.org/index.php?option=com_content&view=frontpage&Itemid=73&limitstart=981&mode=addshout.

สิทธิชัย ผิวเหลือง. (2562). การสร้างเครื่องมือวัดพลังการเตะในกีฬามวยไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุวิมล ตั้งสัจพจน์. (2526). การวัดผลและประเมินผลทางพลศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุรปรีย์ รัตนกุล. (2553). ผลการฝึกกล้ามเนื้อด้วยเมดิซีนบอลที่มีต่อความสามารถในการโถมแทงกีฬาดาบสากล. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิริยา บุญชัย. (2529). การทดสอบและวัดผลทางพลศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

Balkó, Š., Zbigniev, B., & Simonek, J. (2016). The Influence of Different Performance Level of Fencers on Simple and Choice Reaction Time. Revista Brasileira de Cineantropometria e Desempenho Humano, 18, 391-400. doi:10.5007/1980-0037.2016v18n4p391

Boonchai, W. (1986). Karntodsob lae watphon thang palasuesa. Bangkok: Thaiwatna Phanish.

Borysiuk, Z., & Cynarski, W. J. (2009). Reaction time and movement time types of sensorimotor responses and fencing tempo. Journal of Martial Arts Anthropology, 9, 189-200.

Çolakoğlu, H., Akgün, N., Yalaz, G., & Ertat, A. (1987). The Effects of Velocity Training on Aqustics and Visual Reaction Time. The Journal of Spor Hekimliği, 22(1), 43.

Favero. (2019). eft-1. Retrieved from https://www.favero.com/en2_fencing_sport_eft_1_electronic_fencing_target-183-17.html

FIE. (2018). FIE history. Retrieved from https://fie.org/fie/history.

Kirkendall, D. R., Gruber, J. J., & Johnson, R. E. (1987). Measurement and evaluation for physical educators. Champaign: Human Kinetics.

Pérez, Ó. M. d. Q., Morales, F. S., Adán, E., & Quintana, M. S. (2008). Reaction time on fencing and karate high level athletes.

Roi, G., & Bianchedi, D. (2008). The science of fencing: implications for performance and injury prevention. Sports medicine (Auckland, N.Z.), 38, 465-481.

Torun, V., Ince, G., & Durgun, B. (2012). The effects of basic fencing studies and velocity training on reaction time in the 9-12 year-old beginners of fencing. Sport Science, 5.

Weichenberger, M., Schilling-Kästle, V., Mentz, L., Engleder, T., & Hessling, M. (2015). A fencing robot for performance testing in elite fencers. Sports Technology, 8(3-4), 95-99. doi:10.1080/19346182.2015.1108326.