ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะน้ำหนักเกิน

Main Article Content

ณัฐกฤตา ศิริโสภณ
สกุลรัตน์ เกิดมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะน้ำหนักเกินโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีสมรรถนะแห่งตน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2562 ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ ได้กลุ่มทดลองจำนวน 30 ราย กลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 30 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหาร จำนวน 6 ครั้ง ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบเรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนสารระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาตามหลักสูตรปกติของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ (Paired – sample t – test และ Independent samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2562. รายงายาภานการณ์โรค NCDs พ.ศ. 2562. (พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการคัดกรอง ส่งต่อและแก้ปัญหาเด็กอ้วนกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา สถานบริการสาธารณสุข และคลินิก DPAC. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2562, สืบค้นจาก http://nutrition.anamai.moph.go.th/nutrition/ewt_news.php?nid=111

จตุพร จำรองเพ็ง. (2560). ผลของโปรแกรมควบคุมน้ำหนักต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารพฤติกรรมการมีกิจกรรม ทางกาย และน้ำหนักตัวของเด็กวัยเรียนตอนปลายที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการวิชาพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิราภรณ์ เรืองยิ่ง. (2559). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นในจังหวัดสงขลา: การสังเคราะห์องค์ความรู้และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร. วารสารศิลปะศาสตร์, 8(1), 245-264.

ปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์. (2560). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นไทย ผลกระทบและแนวทางแก้ไข. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า, 28(1), 122-128.

ศิรดา เสนพริก. (2560). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถของตนเองในเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ระดับประถมศึกษาปี ที่ 6 โรงเรียนขจรเกียรติศึกษา จังหวัดภูเก็ต. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน, 5(2), 297–314.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2560). การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร พ.ศ. 2560. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กองสถิติพยากรณ์.

Bandura A. (1977). Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review, 84(2), 191–215.

Cohen and J. (1977). Statistical Power Analysis for Behavioral Sciences. Academic Press, New York. Elling, Whittemore, R., Green and M. 1960. Patient participation in a pediatric program. Journal of Health and Human Behavior, 1(1), 183-91.