การประเมินผลการดำเนินการจัดการแข่งขันกีฬาฟันดาบสากล Asian U23 Championships 2019
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประเมินผล (Evaluation research) โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อ
ประเมินผลการดำเนินการจัดการแข่งขันกีฬาฟันดาบสากล Asian U23 Championships 2019 และ
2. เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาการจัดการแข่งขันกีฬาฟันดาบสากล ผู้วิจัยเลือกใช้ทั้งการวิจัย
เชิงปริมาณ (Quantitative research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 เป็นการประเมินผลการดำเนินการจัดการแข่งขัน ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) โดยให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน พิจารณามีค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of item-objective congruence: IOC) ตั้งแต่ 0.67-1.00 และหาความเชื่อมั่น โดยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาด้วยวิธีของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient: α) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 ผู้วิจัยเลือกใช้การกำหนดขนาดตัวอย่างแบบไม่ใช้สถิติกำหนดขนาดตัวอย่างตามเมจิก นัมเบอร์ (Magic number) โดยกำหนดขนาดตัวอย่าง จำนวน 150 คนและส่วนที่ 2 เป็นการประเมินผลการดำเนินการจัดการแข่งขันและนำเสนอแนวทางในการพัฒนา
การจัดการแข่งขันกีฬาฟันดาบสากล ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์ จำนวน 10 คน และ
นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานแล้วนำเสนอผลการวิเคราะห์ในรูปแบบความเรียง สรุปผลการวิจัยได้ว่า
- ผลการดำเนินการจัดการแข่งขัน ได้แก่ 1) การบริหารจัดการแข่งขันด้านทรัพยากรทาง
การจัดการในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.35, S.D. = 0.17) 2) ความพึงพอใจของผลการดำเนิน
การจัดการแข่งขันในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.31, S.D. = 0.18) 3) บริบทและแนวคิดในการจัดการแข่งขันเป็นไปตามมาตรฐานของการจัดการแข่งขันในระดับสากล เป็นรายการแข่งขันที่จัดขึ้นในทวีปเอเชียเท่านั้น จึงทำให้เป็นที่สนใจของนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขัน 4) ระบบสนับสนุนการจัดการแข่งขันได้รับงบประมาณจากสหพันธ์กีฬาฟันดาบแห่งเอเชียและได้รับจากกองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติ
ในส่วนของภาคเอกชนมีเพียงการขอสนับสนุนแพทย์ประจำสนามจากโรงพยาบาลเอกชนเท่านั้น 5) การบริหารจัดการแข่งขันด้านกระบวนการจัดการแข่งขันมีการประชุมวางแผนมอบหมายหน้าที่ให้กับคณะกรรมการแต่ละฝ่ายมีการติดตามการดำเนินงานเป็นระยะ หลังจากการแข่งขันมีการประชุมสรุปข้อปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ไขและนำไปพัฒนาการจัดการแข่งขัน และ 6) ผลการดำเนินการจัดแข่งขันด้านผลสืบเนื่องเป็นการพัฒนาบุคลากรวงการกีฬาฟันดาบสากลของไทยทั้งนักกีฬา ผู้ฝึกสอน คณะกรรมการ
จัดการแข่งขัน และเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศด้วย2.
แนวทางในการพัฒนาการจัดการแข่งขันกีฬาฟันดาบสากลในครั้งต่อไป คือ เพิ่มจำนวนบุคลากรในฝ่ายต่าง ๆ มากขึ้นและจัดอบรม เพื่อพัฒนาความรู้ควรขอความช่วยเหลือด้านงบประมาณจากผู้สนับสนุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้น จัดซื้ออุปกรณ์ที่มีความทันสมัยเพื่อสำรองให้เพียงพอต่อการใช้งานและจัดการแข่งขันทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติโดยแบ่งเป็นรุ่นอายุ เพิ่มการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนสนใจกีฬาฟันดาบสากลเพิ่มมากยิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์
References
การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2560).แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติฉบับที่ 6 (2560-2564). สืบค้น 11 มกราคม พ.ศ. 2560, สืบค้นจาก http://www.satcloud.sat.or.th/SAT/Index.php/s/sCn7Vdke874a5L6/download
กาญจนา อรุณสุขรุจี. (2546). ความพึงพอใจของสมาชิกสหกรณ์ต่อการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรไชยปราการ จำกัด อำเภอไชยปราการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาตรมหาบัณฑิต. สาขาส่งเสริมการเกษตร. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ขนิษฐา ฉิมพาลี. (2555). แนวทางพัฒนาการจัดการแข่งขันกรีฑาชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการทางการกีฬา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐพงษ์ อุไรลักษมี. (2558). สภาพการจัดการแข่งขันที่เทนนิสอาชีพของลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธงชัย สันติวงษ์. (2545). การจัดการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
น้อม สังข์ทอง. (2543). การจัดการแข่งขันกีฬา. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ปรางทิพย์ยุวานนท์. (2552). การจัดการการกีฬา. กรุงเทพฯ: เอ.อาร์.อินฟอร์เมชั่นแอนด์พับลิเคชั่น.
ภัทริน วงษ์บางโพ. (2555).แนวทางการพัฒนาการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รดมยศ มาตเจือ. (2556). แนวทางพัฒนาการจัดการการแข่งขันว่ายน้ำชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย สระว่ายน้ำ 25 เมตร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรัทยา วโรทัย. (2552). สภาพปัญหาและการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 37. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภลักษณ์ นิลนพรัตน์. (2561). แนวทางการพัฒนาการจัดการแข่งขันกีฬาเจ็ตสกีแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการการกีฬา, มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมาคมฟันดาบสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์. (2555). แผนยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ (พ.ศ. 2556-2560). สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2561, จากhttp://www.thaifencing.org/2009-08-15-11-00-25/88-2009-08-17-13-05-20/1825-fencing-strategy-2013-2017.html.
สมาคมฟันดาบสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์. (2555). ประวัติและความเป็นมาของ สมาคมฟันดาบสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์. สืบค้น 24 มิถุนายน 2561, จาก www.thaifencing.org/2009-08-15-11-00-25/100-2009-08-28-00-50-50/120-2009-08-18-16-08-48.html.
สุวรรณา ใบเต้ (2556).การประเมินผลการดำเนินการจัดการแข่งขันกรีฑาชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยและนานาชาติชิงถ้วยพระราชทาน ครั้งที่ 58. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการการกีฬา, มหาวิทยาลัยมหิดล.
Haimann, T. & Scott, W. G. (1970). Management in Modern Organization. Boston: Houghton Mifflin.