การพัฒนาโปรแกรมการฝึกทักษะหมัดชุดกีฬามวยสากลด้วยการเสริมการฝึก เอส เอ คิว และการให้ผลย้อนกลับด้วยวีดีทัศน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและทดลองใช้โปรแกรมการฝึก เอส เอ คิว และการให้ผลย้อนกลับด้วยวีดีทัศน์ที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะหมัดชุดในกีฬามวยสากลสมัครเล่น โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นชาย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียนพรสวรรค์กีฬากายกรรมที่ สปป. ลาว อายุระหว่าง 15-18 ปี โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเข้าร่วมการวิจัย ทั้งสิ้น 30 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม (Two Group Pre-Test Post-Test Design) เป็นกลุ่มทดลองจำนวน 15 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 15 คน โดยใช้ผลการทดสอบทักษะหมัดชุดที่สร้างโดย แดนพิทักษ์ ผัสดี (2547) ผู้วิจัยสร้างโปรแกรมและคู่มือการใช้ จากการศึกษาเอกสารอ้างอิงและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และนำประเมินความตรงตามเนื้อหา (Index of Items objective congruence: IOC) ทำการทดลองโปรแกรม ทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ก่อนการฝึกกับหลังการฝึก ด้วยสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมด้วย The MANN WHITNEY U TEST ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมการฝึก เอส เอ คิว และการให้ผลย้อนกลับด้วยวีดีทัศน์ที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะหมัดชุดในกีฬามวยสากลสมัครเล่น มีค่าดัชนีประสิทธิผลอเท่ากับ 0.3807 และ IOC เท่ากับ 1.00 2) กลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะหมัดชุดหลังจากการทดลองในสัปดาห์ที่ 8 สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะหมัดชุดสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์
References
เจริญ กระบวนรัตน์. (2548). หลักการและเทคนิคการฝึกกรีฑา. ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เฉลิมวุฒิ อาภานุกูล. (2549). ผลของการฝึกเสริมด้วยการฝึกเชิงซ้อนแบบผสมผสานการฝึกด้วยน้ำหนักกับการเคลื่อนที่ในลักษณะแรงระเบิดที่มีต่อการพัฒนาคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬารักบี้ฟุตบอล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. แขนงวิชาสรีรวิทยาการกีฬา สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แดนพิทักษ์ ผัสดี. (2547). การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬามวยสากล สำหรับนิสิตระดับอุดมศึกษา. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (พลศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. เอกสารถ่ายสำเนา.
เทอดทูล โตศีรี. (2559). ผลการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึก เอส เอ คิว (SAQ) ที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวและความสารถในการเลี้ยงลูกฟุตซอลของนักกีฬาฟุตซอลระดับอุดมศึกษา, (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
พลอยไพลิน นิลกรรณ์. (2552). ผลของการให้ผลย้อนกลับที่มีต่อการเรียนรู้ทักษะการตีลูกซอฟท์บอล. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (พลศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. เอกสารถ่ายสำเนา.
ศีริรัตน์ หิรัญรัตน์. (2539). สมรรถภาพทางกายและทางกีฬา. คณะแพทยศาสตร์ ศีริราขพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, กรงเทพมหานคร.