ปัญหาสมรรถภาพทางกายและการเข้าร่วมกิจกรรมทางกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาสมรรถภาพทางกายและการเข้าร่วมกิจกรรมทางกายและแนวทางในการพัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน และสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 375 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1)แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับประชาชนทั่วไปอายุ 19-59 ปี 2) แบบสอบถามปัญหาสมรรถภาพทางกายและการเข้าร่วมกิจกรรมทางกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 3) แบบสัมภาษณ์แนวทางการแก้ไขปัญหาสมรรถภาพทางกายและการเข้าร่วมกิจกรรมทางกายของผู้บริหารและอาจารย์
จากการวิจัยครั้งนี้ทำให้ทราบ ดังนี้ 1) ปัญหาสมรรถภาพทางกายของนักศึกษามีอาการปวดบ่าและปวดหลังผลจากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน 2) การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยส่วนมากใช้รถจักรยานยนต์และใช้บริการลิฟต์ 3) นักศึกษาส่วนมากไม่ได้ออกกำลังกายเนื่องจากงานที่ได้รับมอบหมายจากการเรียนมีจำนวนมาก 4) การเข้าร่วมกิจกรรมทางกายเกี่ยวข้องกับการเดินทางของนักศึกษา ส่วนมากเดินทางมามหาวิทยาลัยโดยการเดินอย่างน้อย 10 นาทีและด้วยการขับขี่จักรยานยนต์ 5) นักศึกษาส่วนมากไม่ได้ใช้เวลาว่างในการเข้าร่วมกิจกรรมทางกาย 6) นักศึกษามีความคาดหวังให้ร่างกายมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและมีค่าดรรชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเมื่อได้ออกกำลังกาย ผลการสัมภาษณ์จากผู้บริหาร 1) ควรมีการกำหนดในยุทธศาสตร์ทางด้านส่งเสริมสุขภาพเพิ่มส่งเสริมให้นักศึกษามีการออกกำลังกายที่มากขึ้น 2) ควรจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการดูแลสุขภาพ 3) กำหนดให้มีวิชาบังคับให้นักศึกษาที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์
References
กรมอนามัย. (2560). ข้อแนะนำการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การลดพฤติกรรมเนือยนิ่งและการนอนหลับสำหรับผู้ใหญ่ (18-59 ปี). กรุงเทพฯ: บริษัท เอ็นซี คอนเซ็ปต์ จำกัด.
เกษม นครเขตต์. (2556). กิจกรรมทางกายและคำแนะนำสำหรับการมีกิจกรรมทางกายในช่วงอายุต่าง ๆ. สืบค้น 24 พฤษภาคม 2563, จาก. http://www.thaicyclingclub.org
เจริญ กระบวนรัตน์. (2556ก.) กิจกรรมทางกายกับการสอนสุขศึกษา พลศึกษา และนันทนาการใน ยุแทปแลต, โดยสมาคมสุขศึกษา พลศึกษาและสันทนาการแห่งประเทศไทย. วารสาร สุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 39(2): 13.
เจริญ กระบวนรัตน์. (2557). วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พลพิพัฒน์ สุขพัฒน์ธี. (2558). พฤติกรรมทางกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สนธยา สีละมาด. (2557). กิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาวะ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิตร สมาหิโต. (2549). การสร้างแบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพสำหรับเด็กไทย อายุ 7-18 ปี. นนทบุรี: พี.เอส.ปริ้นท์.
สุวิมล ตั้งสัจจะพจน์. (2555). การจัดกิจกรรมทางกายเพื่อนันทนาการในสถานศึกษา. สืบค้น 26 มีนาคม 2563, จาก http://ped.edu.ku.ac.th/home/research/data/29_08_2015_21_16_24.pdf
สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยว. (2562). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของประชาชน อายุ 19-59 ปี. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ สัมปชัญญะ.
Butlet, A. C., & Beck, J.S. (1989). Cognitive therapy outcome: A review of meta-analyses. Journal of Norwegian Psychology Associate,
Wei. 2004. Specific recruitment of regulatory T cells in ovarian carcooma fosters immune privilege and privilege and privilege and predicts reduced survival. Nature medicine, 10(9): 942-949.
U.S. DEPARTMENT OF AGRICULTURE. (2020). Physical activity. สืบค้น 30 มีนาคม 2563, จาก https://www. choosemyplate.gov/resources/physical-activity-what-is