ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชายระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน

Main Article Content

พงศกร ชุ่มแจ่ม
อลิสา นิติธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน กลุ่มประชากรจำนวน 240 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)


            ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยภายในตัวบุคคล ได้แก่  การรับรู้ความรุนแรงของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ ความเชื่อมั่นในตนเองในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05  ปัจจัยภายนอกตัวบุคคล ได้แก่  แรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลภายในครอบครัว บุคคลใกล้ชิด บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขและการได้รับข่าวสารจากแหล่งต่างๆมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุสุมาลย์ มีพืชน์. (2560). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ เอชไอวีของนักเรียนอาชีวศึกษาเพศชาย จังหวัดจันทบุรี. พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.

จันทนี แต้ไพสิฐพงษ. (2556). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ ต่อระดับความรู้และทัศนคติในสตรีที่มีผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกปกติ. Thai Journal of Nursing Council Vol. 28 No.2 April-June 2013, 75-87.

ทรรศมน แสงพิทักษ. (2553). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคเพื่อส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัยของนักเรียนชายโรงเรียนขยายโอกาส. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์), สาขาเอกการพยาบาลสาธารณสุข, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

พิมพ์ศิริ พรหมใจษา. (2557). ศึกษาเรื่องผลของการส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคมต่อบทบาทการเป็นมารดาในวัยรุ่นหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. พยาบาลสาร 41 (2) 97-106.

วรรณศิริ ประจันโน, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์, และพรนภา หอมสินธุ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย ตามแนวคิดการให้ข้อมูลข่าวสาร แรงจูงใจ และทักษะพฤติกรรม. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 29(2) 39-51.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2561). สถานการณ์น่าห่วง วัยรุ่นไทยติดเชื้อ HIV สูงขึ้น. สืบค้น 12 มี.ค.2563 จาก https://www.thaihealth.or.th

สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อ. (2559). รายงานผู้ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในประเทศไทยปี 2559. นนทบุรี : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

Rogers, R. W. (1975). A protection motivation theory of fear appeals and attitude change. Journal of Psychology, 91, 93-114.