ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนหญิง ชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์

Main Article Content

ลัดดาวัลย์ เตจ๊ะ
อลิสา นิติธรรม

บทคัดย่อ

           การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ โดยใช้แบบแผนการทดลอง แบบทดสอบก่อนและหลังการทดลอง โดยมี 2 กลุ่ม กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวน 60 คน กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และแบบสอบถามสำหรับรวบรวมข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  โดยตรวจสอบคุณภาพเครื่องมืออยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ เก็บรวบรวมข้อมูล 2 ครั้ง คือ ก่อนทดลองและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสถิติด้วยค่า T (Dependent-Samples t-test, Independent-Samples t-test)


       ผลการศึกษาพบว่า


  1. ภายหลังการได้รับโปรแกรม พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้เรื่องเพศ, ทัศนคติต่อเรื่องเพศ, การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ, การรับรู้ความรุนแรงของพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ, การรับรู้ประโยชน์ในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ความเชื่อมั่นในตนเอง และพฤติกรรมการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. ภายหลังการได้รับโปรแกรม พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้เรื่องเพศ, ทัศนคติต่อเรื่องเพศ, การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ, การรับรู้ความรุนแรงของพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ, การรับรู้ประโยชน์ในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ความเชื่อมั่นในตนเอง และพฤติกรรมการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฐิตารีย์ เธียรสุทัศน์. (2557). ประสิทธิผลของการสร้างเสริมทักษะชีวิตทางเพศศึกษาต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนบางหลวงวิทยาจังหวัดนครปฐม. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาสุขศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นิพนธ์ ดาราวุฒิมาประกรณ์. (2558). วัยรุ่นใช้สื่อออนไลน์อย่างไรในการหาคู่. สืบค้น 17 พฤศจิกายน 2561, จาก http://www.ms.ipsr.mahidol.ac.th

พรพิมล เจี่ยมนาครินทร์. (2539). พัฒนาการวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อแกรมมี่.

พูนสุข ช่วยทอง. (2541). พฤติกรรมทางเพศของเยาวชน: วิสัยทัศของครู-อาจารย์ วิทยาลัยเทคนิค. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 12(3), 81-87.

เยาวลักษณ์ แสนทวีสุข, พรรณี บัญชรหัตกิจ. (2554). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับการสร้างแรงจูงใจเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแห่งหนึ่ง จังหวัดอุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต). ขอนแก่น: สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิลาวรรณ มากยอด. (2557). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความเชื่อมั่นในการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยของนักเรียนวัยรุ่นหญิงในการศึกษานอกโรงเรียน (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักโรคเอดส์วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2559). รายงานผลการดำเนินงานสำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: เจ. เอส. การพิมพ์.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). สถิติการคลอดของแม่วัยรุ่นประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

World Health Organization Western Pacific Region. [WHO]. (2004X. Adolescent health

and development: A WHO regional framework 2000-2004. from WHO Western Pacific Region Office Website: http// www.who.int