การท่องเที่ยวเชิงกีฬาด้วยเรือกอและ

Main Article Content

ไพบูลย์ ณะพรานบุญ
ธีรนันท์ ตันพานิชย์
อำนวย ตันพานิชย์
สุดาวรรณ วุฒิชาติ

บทคัดย่อ

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าเรือกอและมีการตั้งรกรากถิ่นฐานในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย โดยชาวมุสลิมในภาคใต้ มีความชำนาญพิเศษในการเดินเรือออกทะเล ดังนั้นกลุ่มชนนี้จึงประกอบอาชีพการประมง จึงมีการคิดประดิษฐ์เครื่องมือในการเดินเรือออกทะเลเพื่อทำการประมง ทำให้เกิดเรือกอและขึ้น ลวดลายบนเรือกอและ ที่ปรากฏสีสันลวดลายมาจากอิทธิพลศิลปะของ 4 ชนชาติ อันได้แก่ ชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิม ชาวชวา และชาวจีน เป็นลวดลายที่เกิดขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์อิทธิพลที่ได้รับจากสภาพแวดล้อม ลักษณะสังคมพหุวัฒนธรรมและวิถีความเป็นอยู่ร่วมในพื้นที่ นับได้ว่าเป็นนวัตกรรมสร้างสรรค์ซึ่งเป็นผลของวัฒนธรรมสัมพันธ์ที่กลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่ล้ำค่าและมีคุณค่าสมควรอนุรักษ์ไว้อย่างยิ่ง ประเพณีแข่งเรือยาว จังหวัดนราธิวาส คือ การนำเรือกอและ เรือประมงพื้นบ้าน มาดัดแปลงเป็นเรือยาวแข่งขัน เป็นประเพณีที่สร้างความสามัคคี และเป็นการเผยแพร่เอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่สนุกสนานครื้นเครง รวมทั้งก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวเชิงกีฬา สามารถดึงดูดชาวบ้านและนักท่องเที่ยวให้มีความสนใจในประเพณีการแข่งขันเรือกอและ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้เติบโต เพิ่มความนิยมในการแข่งเรือกอและให้สูงขึ้น ต่อยอดสู่การจัดการแข่งขันในประเทศอย่างต่อเนื่องทุกปีอีกทั้งยังสนับสนุนส่งเสริมด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงกีฬา สร้างรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่ โดยมีกิจกรรมร่วมสนุกรับของรางวัลและ การจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ ไปสู่การอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น และทะนุบำรุงดูแลรักษาธรรมชาติให้คงอยู่ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เจริญ กระบวนรัตน์. (2561). วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สินธนาก๊อปปี้เซ็นเตอร์.

เถกิงพล ขํายัง. (2556). การศึกษาเพื่อการสร้างสรรค์วิถีชีวิตชาวประมงมลายู: เรือกอและ. ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาศิลปะการมองเห็น: ศิลปะสมัยใหม่, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุนรดา ปัญญารักษ์ และรักษ์พงศ์ วงศาโรจน์. (2561). ภาพลักษณ์ความปลอดภัยและการรับรู้การจัดการความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวอิสระชาวจีนในกรุงเทพมหานคร. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 5(2), 126-150.

วุฒิ วัฒนสิน. (2542). ลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและในจังหวัดปัตตานี. ภาควิชาศิลปะศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

ศูนย์บริการข้อมูลการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2566). การจัดการแข่งขันเรือกอและ เรือยอกอง และเรือคชสีห์. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2566, สืบค้นจาก https://www.facebook.com/TATContactcenter.

สมาคมกีฬาเรือพายแห่งประเทศไทย. (2562). เรือกอและ เรือยอกอง และเรือคชสีห์. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2566, สืบค้นจาก http://rcat.or.th/images/.

สมใจ ศรีนวล. (2546). เรือกอและ : วัฒนธรรมสัมพันธ์ระหว่างเชื้อชาติ. วารสารปาริชาต, 3(1), 46-52.

สมปราชญ์ อัมมะพันธุ์. (2553). แข่งเรือ. วารสารรูสะมิแล, 31(3), 67-72.

สมยศ แก่นหิน. (2559). การศึกษาเชิงสำรวจเกี่ยวกับคุณลักษณะภาพลักษณ์องค์การการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. วารสาร ABAC ODI Vision. Action. Outcome. 3(1), 1-29.

สำนักงานจังหวัดนราธิวาส. (2566). คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่จัดระเบียบการจัดการแข่งขันเรือกอและ เรือยอกอง และเรือคชสีห์ชิงถ้วยพระราชทานหน้าพระที่นั่ง. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2566, สืบค้นจาก http://www2.narathiwat.go.th/nara2016/order/detail/2781.

สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มที่ 4 พ.ศ. 2562 – 2565. สงขลา: สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์จังหวัดชายแดนใต้.

อาหะมัด สาและ. (2565). โครงสร้างเรือ. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2566, สืบค้นจาก https://www.

facebook.com/profile.php?id=100063591683370.