คุณภาพบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำ ของผู้ใช้บริการศูนย์กีฬากรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ประทุม ชอบใจ
นิธิเดชน์ เลิศพุทธ
ศักดิ์ชาย พิทักษ์วงศ์
พีรัชฌ์ สมุทรโชติช่วง

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพบริการ และเปรียบเทียบความสัมพันธ์เกี่ยวกับคุณภาพบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้ใช้บริการศูนย์กีฬากรุงเทพมหานคร  เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้มาใช้บริการและเป็นสมาชิกของในศูนย์กีฬากรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และกำหนดขนาดแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่มาใช้บริการเป็นประจำทุกสัปดาห์และ 2) กลุ่มผู้ที่มาออกกำลังกายแบบเป็นครั้งคราว ทั้ง 12 ศูนย์กีฬา รวมทั้งสิ้น 504 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยที่มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ และมีระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปร


ผลงานวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านการตอบสนองต่อลูกค้า ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ด้านการรู้จักและเข้าใจลูกค้า และด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้ ยกเว้น ด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า อยู่ในระดับมากในเรื่องของความพึงพอใจของผู้ใช้บริการส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก และความตั้งใจกลับ มาใช้บริการซ้ำของผู้ใช้บริการศูนย์กีฬากรุงเทพมหานครอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้ใช้บริการศูนย์กีฬากรุงเทพมหานคร พบว่า มีความสัมพันธ์กันในระดับสูงมาก อยู่ในทิศทางเดียวกัน และสามารถพยากรณ์ได้โดยคุณภาพการบริการทั้ง 5 ตัวแปรมีผลต่อความพึงพอใจและความตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้ใช้บริการศูนย์กีฬากรุงเทพมหานครได้มากที่สุดทุกด้าน 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิติทัศน์ ทศักุณีย. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตั้งใจซื้อชุดชั้นในวาโก้ซ้ำของผู้หญิงที่มาใช้บริการในห้างสรรพสินค้าในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 6(2), 54-65.

เกตุวดี สมบูรณ์ทวี. (2561). ปัจจัยด้านคุณภาพการบริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อซื้อผลิตภัณฑ์อาหารผ่านผู้ให้บริการ“Food Panda Application”. วารสารการจัดการ สมัยใหม่, 16(1), 153–162.

กุลธน ธนาพงศธร และไตรรัตน์ โภพลากรณ์. (2537). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กุลนดา โชติมุกตะ. (2538). ความพึงพอใจของประชาชนต่อระบบและกระบวนการการให้บริการของกรงุเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพันนบริหารศาสตร์.

ชุติพล เทียนชวลิต. (2558). ความสัมพันธ์ของการรับรู้คุณภาพบริการกับความพึงพอใจและพฤติกรรมการใช้บริการศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น). หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2547). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

ธราภรณ์ เสือสุริย์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการให้บริการที่มีต่อความไว้วางใจ ความพึงพอใจ การบอกต่อ และการกลับมาใช้บริการซ้ำ. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ บัณฑิตวิทยาลัย.

ธานี ตะกรุดทอง. (2546). ความพึงพอใจของสมาชิกต่อการจัดกิจกรรมการตลาดของศูนย์ออกกำลังกาย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการทางการกีฬา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล

ทรวงทิพย์ วงศ์พันธุ์. (2541).“คุณภาพบริการตามความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการในงานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลรัฐ จังหวัดสุพรรณบุรี.” วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาชาวิชาเอกการบริหารโรงพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทศพล ระมิงค์วงศ์. (2008). วัดศักยภาพจากมุมมองของลูกค้า. Productivity World 55 November –December.

นวลอนงค์ ผานัด (2558) ทำการศึกษาเรื่องโมเดลเชิงสาเหตุอิทธิพลของคุณภาพการให้บริการและคุณค่าที่รับรู้ ที่มีต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ ความพึงพอใจ การบอกต่อ และการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้า บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี. (พ.ศ. 2561-2580) ฉบับปรับปรุง. สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร.

ผุดผ่อง ตรีบุบผา. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณภาพบริการและความภักดีต่อการบริการ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, กรุงเทพฯจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วีรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. (2539). คุณภาพในงานบริการ 1 = Quality in services. กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย.

วรัสสิญา ศุภธนโชติพงศ์. (2562). คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะใช้บริการซ้ำของลูกค้าธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กรณีศึกษาพื้นที่ส่วนกลางกรุงเทพมหานคร ภาค 203 สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรรธนะ พูนทองชัย. (2556). การรับรู้คุณภาพการบริการที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของผู้โดยสารขาออก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริพร ตันติพูลวินัย. (2538). การพยาบาลยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ: กองการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข.

ศรายุทธ แดงขันธ์. (2563). คุณภาพการบริการและภาพลักษณ์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความตั้งใจใช้ซ้ำคลินิกเสริมความงามของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สมปอง จันทรี. (2545). ความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการศูนย์กีฬา สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี. มหาวิทยาลัยมหิดล/กรุงเทพฯ.

อัคร อัครจิราย. (2559). ความพึงพอใจและความคาดหวังของผู้ใช้บริการศูนย์กีฬากรุงเทพมหานคร. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการการกีฬา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

Abdullah, N., and S, Yaakub. (2014). Reverse Logistics: Pressure for Adoption and The Impact on Firm’s Performance. International Journal of Business and Society, 15(1), 151-170.

Aday, Lu Ann. and Andersen, Ronald. (1975). Development of Indices of Access to Medical Care. Michigan: Ann Arbor Health Administration Press.

Lewis, R. and Booms, B. (1983) The Marketing Aspects of Service Perspectives on Services Marketing. American Marketing Association, Chicago.

Millet, J. D. (2012). Management in the Publics Service: The quest for effective performance. New York: McGraw-Hill Book Company.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. and Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A Multiple-Item Scale for Measuring Consumer Perceptions of Service Quality. Journal of Retailing, 64(1), 12-40.

Powell, D. H. (1983). Understanding human adjustment: Normal adaptation through the Life cycle. Boston, MA. Little Browm.

Schmenner, R. W. (1995, January - February). Escaping the Black Holes of Cost Accounting. Business Horizons, 8(5), 1245-A.

Taro Yamane. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York: Harper & Row.

Verma, B. M. (1986). Agricultural Service Delivery System in India. Delivery of Public Service in Asia countries: Case in Development Administration. Bangkok: Thammasat University Press.

Zeithaml, V. A., Parasuraman, A., & Berry, L. L. (2013). A Conceptual Model of Service Quality and Its Implications for Future Research. Journal of Marketing, 49, 4-50.