การพัฒนาโปรแกรมการฝึกแบบ เอส คิว เอ พี เพื่อส่งเสริมความคล่องแคล่วของนักกีฬาฟุตซอลหญิง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมการฝึกแบบ เอส คิว เอ พี ให้มีคุณภาพ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคล่องแคล่วระหว่างก่อนและ หลังการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกแบบ เอส คิว เอ พี (SQAP) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในงานวิจัยเป็นนักกีฬาฟุตซอลหญิง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 20 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t – test dependent samples) กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมการฝึกโดยการฝึกรูปแบบเอส คิว เอ พี มีประสิทธิภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญได้ประเมินความเหมาะสมและภาพรวม อยู่ในระดับเหมาะสมมาก ( = 4.06, S.D = 0.80) 2) นักกีฬาฟุตซอลหญิง มีความคล่องแคล่วก่อนการฝึกและหลังการฝึก 8 สัปดาห์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์
References
จีรนันท์ โพธิ์เจริญ. (2549). ผลของการฝึกรูปแบบ เอส เอ คิว ที่มีต่อความคล่องตัวของนักกีฬาเนตบอล. ปริญญานิพนธ์ วท.ม (วิทยาศาสตร์การกีฬา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธัญวิศิษฐ์ สงวนวงศ์. (2551). การศึกษาความต้องการของผู้มาใช้บริการ เพื่อกำหนดส่วนใช้สอยและบริการของสนามฟุตซอล. วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
นิพนธ์ กระมล. (2554). ผลการฝึก คิว เอ พี ที่มีต่อความคล่องตัวของนักกีฬาฟุตซอล. ปริญญานิพนธ์. วท.ม (วิทยาศาสตร์การกีฬา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพฯ.
เปรมศรี และไมตรี กุลบุตร. (2548). ประวัติและกติกาการตัดสินฟุตซอล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะพลศึกษา.
มณฑล ทองโรจน์, ชาญชัย ชอบธรรมสกุล, ชนะวงศ์ หงษ์สุวรรณ และรัตนา เฮงสวัสดิ์. (2561). การสร้างโปรแกรมการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาฟุตซอล. มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะศึกษาศาสตร์ สาขาพลศึกษา.