การพัฒนาสื่อวิดีโอออนไลน์ เรื่องความรู้พื้นฐานกีฬาบาสเกตบอล สำหรับนิสิตสาขาพลศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อวิดีโอออนไลน์ เรื่องความรู้พื้นฐานกีฬาบาสเกตบอล สำหรับนิสิตสาขาพลศึกษาให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้
หลังเรียนของนิสิตสาขาพลศึกษาที่เรียนด้วยสื่อวิดีโอออนไลน์ เรื่องความรู้พื้นฐานกีฬาบาสเกตบอลผ่านเกณฑ์
ที่กำหนดร้อยละ 80 3) ศึกษาความพึงพอใจของนิสิตสาขาพลศึกษาที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้สื่อวิดีโอออนไลน์ เรื่องความรู้พื้นฐานกีฬาบาสเกตบอล สำหรับนิสิตสาขาพลศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตสาขาพลศึกษาชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2565 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับฉลากโดยการใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม (Unit of Sampling) เครื่องมือที่ใช้
ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) สื่อวิดีโอออนไลน์ เรื่องความรู้พื้นฐานกีฬาบาสเกตบอล 2) แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่อความรู้พื้นฐานกีฬาบาสเกตบอล แบบปรนัย 4 เลือก จำนวน 20 ข้อ
โดยทดสอบหลังเข้ารับการเรียนรู้ (Post-test) โดยมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.40-0.47 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.49-0.50 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนิสิตสาขาพลศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อวิดีโอออนไลน์ เรื่องความรู้พื้นฐานกีฬาบาสเกตบอล แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ โดยมีผลการประเมินความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ One Sample t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อวิดีโอออนไลน์ เรื่องความรู้พื้นฐานกีฬาบาสเกตบอลที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 84.84/90.15 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (80/80) 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนิสิตสาขาพลศึกษาที่เรียนโดยใช้สื่อวิดีโอออนไลน์ฯ มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 18.03 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 90.45 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 80) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .00 3) นิสิตสาขาพลศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อวิดีโอออนไลน์ฯ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.40)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์
References
กนกวรรณ นำมา, สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล และไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2564). การพัฒนาสื่อดิจิทัลวิดีโอร่วมกับการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนเพื่อเสริมสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์อย่างมีความสุข. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 64(2), 1-11.
จันทิมา เจริญผล และจินตวีร์ คล้ายสังข์. (2559). การพัฒนาระบบวิดีโอสตรีมมิงแบบปฏิสัมพันธ์ตามแนวคิดเกมมิฟิเคชั่นร่วมกับการเรียนแบบรอบรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการกำกับตนเอง สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 11(4), 47-64.
ธนน ลาภธนวิรุฬห์. (2560). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเทคนิคการนําเสนอขายตรง ในรายวิชาการขายตรง โดยใช้ Clip ในสื่อ YouTube ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ.
ธัญภา แสงตันชัย. (2561). การบริหารสื่อและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร. (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ปวรวรรณ แพนเกาะ, ณัฐิกา เพ็งลี และนาทรพี ผลใหญ่. (2565). ผลของการออกกําลังกายแบบสถานีในรูปแบบห้องเรียนออนไลน์ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักเรียนชายวัยรุ่นอายุ 13-15 ปี. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 48(2), 1-13.
ปัณณทัต จอมจักร์. (2561). การเปรียบเทียบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างระหว่างส่วนประชาสัมพันธ์ทางการตลาด ความพึงพอใจ ความผูกพัน การตัดสินใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ และบริการของผู้ใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่และบริการของผู้ใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่. วารสารสมาคมนักวิจัย, 23(1), 89-102.
ปิยะดนัย วิเคียน. (2561). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวีดีทัศน์. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2565, สืบค้นจาก https://krupiyadanai.wordpress .com/เทคโนโลยีสื่อประสม/วีดีทัศน์.
ภานุมาศ หมอสินธ์, ละอองดาว ทองดี, อรรถพล หล้าสมบูรณ์ และคำพันธ์ อัครเนตร. (2559). การสร้างสื่อการเรียนการสอนออนไลน์โดยใช้ทฤษฎีสร้างสรรค์นิยมในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 2(2), 161-171.
ภานุวัฒน์ ศรีวรรณ และจิราวัฒน์ ขจรศิลป์. (2565). ผลการฝึกโปรแกรมการเคลื่อนไหวด้วยตัวเองร่วมกับการฝึกทักษะกีฬาบาสเกตบอลที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวและทักษะการเลี้ยงลูกเร็ว. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 48(2), 380-389.
ศุภวรรณ วงศ์สร้างทรัพย์, ธีรนันท์ ตันพานิชย์, ฐิติกมลสิริ ลาโพธิ์, วิชนนท์ พูลศรี และธนวัฒน์ ชลานนท์. (2564). การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้ Google Classroom ในรายวิชากิจกรรมพลศึกษาสำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 47(2), 166-176.
สุชาติ เพชรเทียนชัย. (2565). การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ วิชาฟุตบอล สำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 48(2), 14-27.
สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล และไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2564). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกตามแนวคิดไมโครเลิร์นนิงร่วมกับการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(15), 127-140.
อดิศร พึ่งศรี. (2561). การพัฒนาบทเรียนวีดิทัศน์ออนไลน์วิชาถ่ายภาพ เรื่อง Advance Flash Photography. (ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา) พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อุษณีย์ ด่านกลาง และบุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ชมวิดีโอคอนเทนท์บนสื่อสังคมออนไลน์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(2), 78-90.