การวิเคราะห์ระดับความหนักของเกมการแข่งขันกีฬาวีลแชร์เทนนิสชาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความหนักที่ใช้ในขณะแข่งขันกีฬาวีลแชร์เทนนิสระหว่างผู้ชนะและผู้แพ้ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาวีลแชร์เทนนิสทีมชาติไทย เพศชาย จำนวน 8 คน ผู้วิจัยได้ติดตั้งเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจแบบไร้สาย ยี่ห้อ Polar รุ่น H10 และบันทึกข้อมูลโดยใช้ซอฟต์แวร์ Polar Team ทำการจำลองการแข่งขันวีลแชร์เทนนิส แบบพบกัน 2 ใน 3 เกม และบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจ ขณะแข่งขัน นำข้อมูลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติ Independent T-Test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัย พบว่า อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดขณะแข่งขันระหว่างผู้ชนะและผู้แพ้ ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และอัตราการเต้นของหัวใจที่ระดับความหนัก 61% - 70% HRmax ระหว่างผู้ชนะและผู้แพ้ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ซึ่งผลที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ สามารถนำไปใช้จัดโปรแกรมการฝึกซ้อมให้สอดคล้องและเฉพาะเจาะจงกับกีฬาวีลแชร์เทนนิสต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์
References
ณัฐวุฒิ มณีใส นิรอมลี มะกาเจ เพ็ญนิภา พูลสวัสดิ์ และศุภวรรณ วงศ์สร้างทรัพย์. (2563). การวิเคราะห์ระดับความหนักของเกมการแข่งขันกีฬาคอร์ฟบอล. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 17 วันที่ 2 – 3 ธันวาคม 2563. หน้า 4681 - 4691.
Bayles, M. P. (2023). ACSM’s exercise testing and prescription : Lippincott Williams & Wilkins.
Blomqvist, M., Luhtanen, P., & Laakso, L. (2000). Expert-novice differences in game performance and game understanding of youth badminton players. European Journal of Physical Education, 5(2), 208-219.
Diaper, N. J., & Goosey-Tolfrey, V. L. (2009). A physiological case study of a paralympic wheelchair tennis player: reflective practise. Journal of sports science & medicine, 8(2), 300.
Friedl, K. E., DeWinne, C. M., & Taylor, R. L. (1987). The use of the Durnin-Womersley generalized equations for body fat estimation and their impact on the Army Weight Control Program. Military Medicine, 152(3), 150-155.
Gibson, A. L., Wagner, D., & Heyward, V. (2019). Advanced fitness assessment and exercise prescription, 8E: Human kinetics.
Goosey-Tolfrey, V. L., & Leicht, C. A. (2013). Field-based physiological testing of wheelchair athletes. Sports medicine, 43, 77-91.
Makaje, N., Ruangthai, R., Arkarapanthu, A., & Yoopat, P. (2012). Physiological demands and activity profiles during futsal match play according to competitive level. Journal of Sports Medicine and Physical Fitness, 52(4), 366.
Maneesai., N., Makaje., N., Ruangthai., R., & Phunsawa., P. (2021). Playing Pattern Analysis of Single Badminton Matches in Professional Players. Journal of Health, Physical Education and Recreation, 47(2), 86-100.
Póvoas, S. C., Seabra, A. F., Ascensão, A. A., Magalhães, J., Soares, J. M., & Rebelo, A. N. (2012). Physical and physiological demands of elite team handball. The Journal of Strength & Conditioning Research, 26(12), 3365-3375.
Sánchez-Pay, A., & Sanz-Rivas, D. (2020). Wheelchair tennis, from health to competitive analysis: A narrative review.