ผลของการฝึกด้วยโปรแกรมพาวเวอร์โยคะที่มีผลต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวและการทรงตัวของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

Main Article Content

พิมพ์ธิชา จันทรวงศ์
สหัสวรรษ บุญทอง
เหมหงษ์ นิมิตสมสกุล
นรินทรา จันทศร
นภสร นีละไพจิตร

บทคัดย่อ

วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการฝึกด้วยพาวเวอร์โยคะที่มีผลต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวก่อนและหลังการฝึก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยศิลปากร ประจำปีการศึกษา 2565 โดยใช้การเลือกเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ 1) โปรแกรมการฝึกพาวเวอร์โยคะโดยผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน (IOC=0.98) 2) แบบทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว (Plank Test) และแบบทดสอบการทรงตัว (Stork Balance Test) (IOC=0.1) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวเมื่อมีการวัดซ้ำ (one-way ANOVA with Repeated Measure) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีของ บอนเฟอโรนี (BonFerroni’s Method) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว จากการทดสอบ Plank test ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 3 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6 มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 39.27±13.00, 68.01±22.15, 80.30±18.51 วินาที ตามลำดับ และผลการเปรียบเทียบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว พบว่า หลังการฝึกด้วยโปรแกรมพาวเวอร์โยคะเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ มีผลทำให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวที่ดีขึ้นกว่าก่อนการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการทดสอบการทรงตัวจากแบบทดสอบการทรงตัว Stork Balance test ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 3 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6 มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 7.40±3.13, 10.69±4.24, 13.27±4.37 วินาที ตามลำดับ และผลการเปรียบเทียบการทรงตัวพบว่า หลังการฝึกด้วยโปรแกรมพาวเวอร์โยคะเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ มีผลทำให้การทรงตัวที่ดีขึ้นกว่าก่อนการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการวิจัยสรุปได้ว่า การฝึกด้วยโปรแกรมพาวเวอร์โยคะเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ มีผลทำให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวและการทรงตัวในกลุ่มตัวอย่างดีขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจริญ กระบวนรัตน์. (2545). เอกสารการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การฝึกกล้ามเนื้อด้วยการยกน้ำหนัก. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2544). การฝึกกล้ามเนื้อด้วยการยกน้ำหนัก. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มัลลิกา ภิรมย์บุญ, พรรณี ปึงสุวรรณ, ลักขณา มาทอ,รวยริน ชนาวิรัตน์, พลลพัฏฐ์ ยงฤทธิปกรณ์ และเสาวนีย์ นาคมะเริง. (2563). ผลของการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวที่มีต่อความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อหน้าท้องและความสามารถในการลุกยืนในวัยรุ่นที่มีภาวะอ้วน : การศึกษานำร่อง. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 21(3), 460-470.

เมธี ศิลา, สมบัติ อ่อนศิริ, อำนวย ตันพานิช และชาติชาย อมิตรพ่าย. (2565). ผลของการฝึกแบบสถานีที่มีต่อการพัฒนาการทรงตัวของเด็กออทิศติก. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 48(1), 227-237.

สมนึก กุลสถิตพร. (2549). กายภาพบำบัดในผู้สูงอายุ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อ็อฟเซ็ทเพรส.

สาลี่ สุภาภรณ์. (2546). แนวคิดและประสบการณ์เกี่ยวกับการฝึกไอเยนกะโยคะของคนไทยในวัยผู้ใหญ่. มหาวิทยาลัยศรีนตริทรวิโรฒ องครักษ์: ภาควิชาวิทยาษาสตร์การกีฬา.

สุคนธ์ อนุนิวัฒน์, ทศพล ธานี และสาธิน ประจัญบาน. (2562). ผลของการฝึกด้วย ที อาร์ เอ็กซ์ และการฝึกด้วยน้ำหนักของร่างกายที่มีต่อความแข็งแรงอดทนของกล้ามเนื้อ. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 45(1), 274-285.

อนุกูล มะโนทน และคณะ. (2565). ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโควิด-19 ของประชาชนอายุ 18-60 ปี มหาวิทยาลัยพะเยา. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. 7-8 กรกฎาคม 2565. หน้า 2966-2978.

เอกลักษณ์ พุฒิธนสมบัติ. (2549). การฝึกโยคะลาทิสที่มีต่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ: มหาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา.

ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์ และกุลธิดา เชิงฉลาด. (2544). ปทานุกรมศัพท์กีฬา พลศึกษาและวิทยาศาสตร์การกีฬา. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Brittenham, D.; & Brittenham, G. (1977). Stronger ads and back. United States of Amarica: United Graphics.

David, F. (2005). Strategic management: Concepts and case studies.

Gannon; & Life. (2002) Jivamukti Yoga: Practices for liberating body and soul. Ballantine Books; 2002 Apr 23.

Hedrick, A. (2000). Dynamic flexibility training. Strength & Conditioning Journal, 22(5), 33.

Kho M. and Tan J. (2006). Understanding Biomechanics for Physical Education and Sports. McGraw-Hill Education

Roberts, K. J. (2004). Yoga for golfers: a unique mind-body approach to golf fitness. McGraw-Hill.

Samokham, N., & Sitilertpisan, P. (2016). Effect of dynamic core stability exercise on physical performance in male dragon boat paddlers. Journal of Associated Medical Sciences, 49(1), 146-146.

Shumway-Cook, A., & Woollacott, M. H. (2007). Motor control: translating research into clinical practice. Lippincott Williams & Wilkins.

Yakut, H., & Talu, B. (2021). The effect of core strength training on flexibility and balance in sedentary healthy young individuals. Baltic Journal of Health and Physical Activity, 13(4), 9.