ผลของการงีบหลับที่มีต่อการฟื้นตัวของกรดแลคติก

Main Article Content

ธนสิริ โชคทวีพาณิชย์
สยาม ทองใบ
ทินกร ชอัมพงษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการงีบหลับที่มีต่อการฟื้นฟูของกรดแลคติกในร่างกาย โดยทําการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักฟุตบอลชาย ช่วงอายุ 14-16 ปี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยจิรประวัติ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 20 คน กลุ่มตัวอย่างทำการทดสอบ Bruce Test โดยต้องทำการทดสอบโดยใช้ความพยายามสูงสุดจนหมดแรง และมีค่าของอัตราการเต้นของหัวใจไม่น้อยกว่า 85% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ภายหลังสิ้นสุดการทดสอบทันที ทำการเจาะเลือดบริเวณปลายนิ้วเพื่อวัดกรดแลคติกด้วยเครื่องทดสอบ Lactate plus โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ด้วยวิธีจับคู่ (Match pair) โดยที่ค่าสูงสุดของกรดแลคติก (Max lactate) และความสามารถในการดูดซึมออกซิเจนสูงสุด (VO2 max) ไม่แตกต่างกันทางสถิติ คือ กลุ่มงีบหลับ (จำนวน 10 คน) ได้รับการพักฟื้นด้วยการงีบหลับเป็นระยะเวลา 30 นาที และกลุ่มไม่งีบหลับ (จำนวน 10 คน) ได้รับการพักฟื้นโดยการให้นั่งพักเป็นระยะเวลา 30 นาที ตัวแปรที่ทำการศึกษา คือ การฟื้นตัวของกรดแลคติก (Lactate recovery) โดยให้ทำการเจาะเลือดหลังจากพักฟื้น 30 นาที วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้ ANOVA แบบวัดซ้ำ (ANOVA repeated measure) นัยสำคัญทางสถิติกำหนดไว้ที่ระดับ .05


          ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มงีบหลับ (3.06 mmol-1 ±.613) มีการฟื้นตัวต่อกรดแลคติกเร็วกว่ากลุ่มไม่งีบหลับ (4.02 mmol-1  ±.421) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการงีบหลับส่งผลต่อการฟื้นตัวของกรดแลคติก โดยช่วยให้ปริมาณของกรดแลคติกในกระแสเลือดลดลงเร็วขึ้น ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการฟื้นตัวจากสารก่อความเมื่อยล้า เพราะหากนักกีฬามีความสามารถในการฟื้นตัวที่เร็วกว่า ก็ย่อมหมายถึง โอกาสที่นักกีฬาจะสามารถมีความพร้อมที่จะกลับมาแข่งขันในครั้งต่อไปได้เร็วกว่า และส่งผลต่อการแสดงความสามารถในการยืนระยะของสมรรถภาพของนักกีฬาได้นานกว่า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนสิริ โชคทวีพาณิชย์. (2565). ผลของการนอนหลับระยะสั้นในช่วงเวลากลางวันที่มีต่อการฝึกเพื่อเพิ่มความสามารถในเชิงแอโรบิก. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, ปีที่ 48 (1), หน้า: 226-237.

สุชาติ โสมประยูร. (2523). สุขวิทยา (พิมพ์ครั้งที่5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุดประนอม สมันตเวคิน. (2546). บทบาทของพยาบาลเพื่อส่งเสริมการนอนในผู้ป่วยวิกฤติ. วารสารสภากาชาดไทย, 21(1), 50-57.

Anning, J. H. (2012). Aerobic power. NSCA’s Guide to Tests and Assessments, edited by Miller, T. United State: Human Kinetic.

Harbili, S. (2015). The effect of different recovery duration on repeated anaerobic performance in elite cyclists. Journal of Human Kinetics, 49, 171-178.

Kenney, W. L., Wilmore, J. H. and Costill, D. L. (2012). Physiology of sport and exercise. (5th ed). IL: Human Kinetics.

McArdle, W.D., Katch, I. F. and Katch, L. V. (2016). Essentials of Exercise Physiology. (5th ed). Philadelphia: Wolters Kluwer.

Mednick, C. S. and Ehrman, M. (2006). Take a Nap! Change Your Life. New York: Workman Publishing Company.

Naylor, E., Aillon, D. V., Barrett, B. S., Wilson, G. S., Johnson, D. A., Johnson, D. A., Harmon H. P., Gabbert. S. and Petillo. P. A. (2012). Lactate as a biomarker for sleep. SLEEP, 35(9): 1209-1222.

Tietzel, A. J. and Lack, L.C. (2002). The recuperative value of brief and ultra – brief naps on alertness and cognitive performance. Jounal of Sleep Research, 11(3), 213-218.

Romdhani, M., Dergaa, I., Moussa-Chamari, I., Souissi, N., Chaabouni, Y., Mahdouani, K., Abene, O., Driss, T., Chamari, K. and Hammouda, O. (2021). The effect of post-lunch napping on mood, reaction time, and antioxidant defense during repeated sprint exercise. Biology of Sport, 38(4), 629-638.

Waterhouse, J., Atkinson, G., Edwards, B. and Reilly, T. (2007.) The role of a short post-lunch nap in improving cognitive, motor, and sprint performance in participants with partial sleep deprivation. Journal of Sports Sciences, 25(14), 1557–1566.