ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นสูงสลับเบาต่อเปอร์เซ็นต์ไขมันของผู้หญิง ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นสูงสลับเบาต่อเปอร์เซ็นต์ไขมันของผู้หญิง ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน จำนวน 20 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นสูงสลับเบา
ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและผ่านการตรวจคุณภาพเครื่องมือด้านความตรงเชิงประจักษ์จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ระยะเวลา 8 สัปดาห์ ค่าดัชนีมวลกายและปริมาณไขมันจะได้รับการทดสอบในก่อนสัปดาห์ที่ 1 และหลังสัปดาห์ที่ 8 ด้วยเครื่องวิเคราะห์ร่างกาย TANITA (BC-418) วิเคราะห์ทางสถิติโดยการหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า ที Dependent t – test
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นสูงสลับเบา ระยะเวลาในการออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ ค่าดัชนีมวลกาย เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย และสัดส่วนไขมันในร่างกาย ได้แก่ บริเวณขาขวา ขาซ้าย แขนขวา แขนซ้าย และลำตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 สรุปได้ว่า โปรแกรมการออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นสูงสลับเบานั้น สามารถนำไปใช้ออกกำลังกายเพื่อลดปริมาณไขมัน
ในร่างกาย ลดน้ำหนัก และปรับปรุงสัดส่วนของร่างกายให้เหมาะสมได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์
References
Atakan, M. M., Guzel, Y., Bulut, S., Kosar, N. S., McConell, G. K., & Turnagol, H. H. (2020). Six high-intensity interval training sessions over 5 days increases maximal oxygen uptake, endurance capacity, and sub-maximal exercise fat oxidation as much as 6 high-intensity interval training sessions over 2 weeks. J Sport Health Sci.
Bartram, S. (2015). High-Intensity Interval Training. Penquin Random Hourse LLC.
Da Silva, M. R., Waclawovsky, G., Perin, L., Camboim, I., Eibel, B., & Lehnen, A. M. (2020). Effects of high-intensity interval training on endothelial function, lipid profile, body composition and physical fitness in normal-weight and overweight-obese adolescents: A clinical trial. Physiol Behav, 213, 112728.
Marzuca-Nassr, G. N., Artigas-Arias, M., Olea, M. A., SanMartin-Calisto, Y., Huard, N., Duran-Vejar, F., Beltran-Fuentes, F., Munoz-Fernandez, A., Alegria-Molina, A., Sapunar, J., & Salazar, L. A. (2020). High-intensity interval training on body composition, functional capacity and biochemical markers in healthy young versus older people. Exp Gerontol, 141, 111096.
World Health Organization. (2020). Obesity and overweight. from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight.
เจริญ กระบวนรัตน์. (2557). วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา (พิมพ์ครั้งที่ 1). บริษัท สินธนาก๊อปปี้ เซ็นเตอร์ จำกัด.
ต่อศักดิ์ แก้วจรัสวิไล. (2021). แนวทางการจัดกิจกรรมการออกกำลังกายในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19): The Guidelines on Exercise Activities in the Spread Period of Coronavirus Disease 2019 (COVID-19). Journal of Health, Physical Education and Recreation, 47(1), 14-26.
มาโนช บุตรเมือง. (2564). โปรแกรมการฝึกหนักสลับเบาสำหรับนักกีฬา (Interval Training Program for Athletes) (Vol. 1500). บริษัท บริสุทธิ์การพิมพ์ จำกัด.
สรายุทธ มงคล, พัสวี ห่านสุวรรณกร, สุวัจนี มิคผล, & ศิวะกฤษณะกุล., ก. (2562). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเจ็ดนาทีต่อเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายในคนอ้วนเพศหญิง [Original Article]. ศรีนครินทร์เวชสาร 2562: 34(1), 8.
สุดาวรรณ วุฒิชาติ. (2022). ผลของการฝึกแบบหนักสลับเบาด้วยรูปแบบการวิ่งหลายทิศทางที่มีต่อสมรรถภาพการใช้ออกซิเจน และสมรรถภาพ แบบไม่ใช้ออกซิเจนในนักกีฬาแบดมินตันรุ่นเยาวชน: Effect of Multi-Direction Interval Training Program on Aerobic Fitness and Anaerobic Fitness in Youth Badminton Players. Journal of Health, Physical Education and Recreation, 48(1), 24-35.