แนวทางการพัฒนากีฬาแชร์บอลสู่กีฬาเพื่อความเป็นเลิศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
แชร์บอลเป็นเกมการเล่นที่พัฒนาสู่กีฬาขั้นพื้นฐานที่มีการจัดการเรียนการสอนอยู่ในโรงเรียน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเคลื่อนไหวพื้นฐานที่นำไปสู่การปฏิบัติทางทักษะกีฬา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อการพัฒนาร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมของเด็กและเยาวชน ขณะเดียวกันแชร์บอลได้รับการสนับสนุนให้มีการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา และส่งเสริมจนกลายเป็นกิจกรรมการแข่งขันกีฬาในสถานศึกษา อย่างไรก็ตามแชร์บอลก็ยังคงเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ยังไม่ได้กำหนดให้เป็นกีฬาอย่างชัดเจน ทั้งที่แชร์บอลถือเป็นกิจกรรมหรือการเล่นที่มีกฎกติกากำหนด เพื่อความสนุกเพลิดเพลินผ่อนคลายความเครียด หรือเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง และอาจใช้เป็นการแข่งขันเพื่อความเป็นเลิศตามความหมายของคำว่ากีฬา วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนากีฬาแชร์บอลสู่กีฬาเพื่อความเป็นเลิศ โดยการศึกษาจากเอกสาร ตำรา แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ นำมาเรียบเรียงสู่กระบวนการการจัดการ อย่างเป็นระบบ ต่อยอดสู่การเผยแพร่ในการพัฒนาแชร์บอลให้เป็นกีฬาระดับชาติ และนานาชาติ ทั้งนี้การพัฒนาแชร์บอลซึ่งเป็นกีฬาขั้นพื้นฐานสู่กีฬาเพื่อความเป็นเลิศจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการส่งเสริมการจัดการแข่งขันเพื่อให้โอกาสในการแสดงความสามารถกับคนทุกคนอย่างเท่าเทียม กระบวนการจัดการแข่งขันและกระบวนการของการพัฒนาเป็นสิ่งที่สถานศึกษา องค์กรทางการกีฬา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องเข้ามามีบทบาทต่อการกำหนดนโยบาย วางแผนอย่างเป็นระบบ และสร้างเงื่อนไขในการประเมินผล เพื่อให้มีรูปแบบและแนวทางที่ชัดเจน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและส่งเสริมแชร์บอลให้เป็นกีฬาเพื่อความเป็นเลิศอย่างเป็นรูปธรรม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์
References
กรมพลศึกษา. (2560). ร่างแผนพัฒนานันทนาการแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2560-2564). สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2565, สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/download/PolicyStrategy/DraftNationalRecreationalDevelopmentPlan2560-2564.pdf
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2552). กติกาแชร์บอล. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2565, สืบค้นจาก https://www.dpe.go.th/manual-files-392891791834
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (ม.ป.ป.). (ร่าง)แผนพัฒนากีฬาแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2565 – พ.ศ. 2570). สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2565, สืบค้นจาก https://anyflip.com/iujzr/bvol/basic/101-150
กาจบัณฑิต เอี้ยวถาวร. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศของจังหวัดศรีสะเกษ.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(2), 190-205.
การกีฬาแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). แผนยุทธศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ.2565-2570. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2565, สืบค้นจาก https://www.sat.or.th/wp-content/uploads/2021/11/แผนยุทธศาสตร์-กกท.-พ.ศ.-2565-2570-ฉบับสมบูรณ์.pdf
ชัชชัย โกมารทัต. (2549). กีฬาพื้นเมือง ไทยภาคกลาง. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.
นภพร ทัศนัยนา และอรนภา ทัศนัยนา. (2565). แนวทางการส่งเสริมกีฬาจากกีฬาพื้นฐานสู่กีฬาอาชีพสำหรับประเทศไทย. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 48(1), 154-165.
นิตยา เรืองมาก. (2563). กระบวนการนโยบายการพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พฤกษศาสตร์ ลาพุทธา. (2557). แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการกีฬาจักรยานเพื่อความเป็นเลิศของสมาคมกีฬาจังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ภูพิงค์ สุวรรณ และเทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย. (2558). การศึกษาการเตรียมทีมกีฬาจักรยานของสมาคมจักรยานแห่งประเทศไทยในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 27. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. 16(2), 49-62.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2560). รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่องการประเมินศักยภาพและความพร้อมของการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้กีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬาในสังกัดกรมพลศึกษา. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2565, สืบค้นจาก https://www.dpe.go.th/research-files-392891791842
ลัดดา เรืองมโนธรรม และสืบสาย บุญวีรบุตร. (2559). ปัจจัยและแนวทางการพัฒนานักกีฬาสู่ความเป็นเลิศ : แบบจำลองประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. 17(1), 35-48.
วีรสิทธิ์ ชินวัตร. (2555). ทฤษฎีของ Henri Fayol. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2565, สืบค้นจาก http://veerasit- dba04.blogspot.com/2012/10/6-henri-fayol.html
ศิรินภา เพียรทอง. (2565). แนวทางการพัฒนากีฬาฟันดาบเพื่อความเป็นเลิศของชมรมกีฬาฟันดาบ ในสังกัดสมาคมกีฬาฟันดาบแห่งประเทศไทย. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 16(1), 36-40.
สมคิด บางโม. (2562). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สํานักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.