ผลการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาที่มีต่อการเคลื่อนที่ของนักกีฬาวอลเลย์บอลชาย รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

เตชิต มานะพรชัย
นัยนา บุพพวงษ์
อธิวัฒน์ ดอกไม้ขาว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาที่มีต่อการเคลื่อนที่ของนักกีฬาวอลเลย์บอลชาย รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลชายรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 24 คน โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 12 คน คือ กลุ่มควบคุม ฝึกทักษะกีฬาวอลเลย์บอลตามแบบแผนการเรียนวิชาวอลเลย์บอลเพื่อความเป็นเลิศ กลุ่มทดลอง ฝึกทักษะกีฬาวอลเลย์บอลตามแบบแผนการเรียนวิชาวอลเลย์บอลเพื่อความเป็นเลิศร่วมกับโปรแกรมการฝึกความแข็งแรงกล้ามเนื้อขา ใช้เวลาในการฝึก 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน ทำการทดสอบความสามารถในการเคลื่อนที่ ก่อนการฝึก ภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และภายหลังสัปดาห์ที่ 8 นำผลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน (t–test Independent) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (one-way analysis of variance with repeated measure) และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้วิธีการของ LSD ซึ่งกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการวิเคราะห์ความสามารถในการเคลื่อนที่ระหว่างกลุ่ม ค่าเฉลี่ยความสามารถในการเคลื่อนที่ ภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 พบว่า กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ภายในกลุ่ม ค่าเฉลี่ยความสามารถในการเคลื่อนที่กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง พบว่า ก่อนการฝึก ภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การฝึกความแข็งแรงกล้ามเนื้อขา ส่งผลต่อความสามารถในการเคลื่อนที่ของนักกีฬาวอลเลย์บอล รวมทั้งระยะเวลาการฝึกที่นานขึ้น สามารถพัฒนาความสามารถในการเคลื่อนที่ของนักกีฬาวอลเลย์บอล ให้ดีขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพลศึกษา. (2560). การทดสอบสมรรถภาพทางกายภาคสนาม. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2564, สืบค้นจาก https://www.dpe.go.th/manual-files-401891791794.

การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2558). คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2563, สืบค้นจาก https://www.satc.or.th/document/title.aspx?sid=36.

กอบบุญ แดงสุวรรณ. (2564). ผลของการฝึกความแข็งแรงและพลังของกล้ามเนื้อขาด้วยน้ำหนักตัวที่มีต่อความสามารถในการรีบาวด์กีฬาบาสเกตบอลของนักกีฬาโรงเรียนสุคนธีรวิทย์จังหวัดนครปฐม. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 47(1), 40-48.

จักรกฤษณ์ พิเดช. (2563). ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกที่มีต่อความแข็งแรงและพลังของกล้ามเนื้อส่วนบนในนักกีฬาวอลเลย์บอลชาย. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 42(2), 35-45.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2557). วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา. กรุงเทพฯ: บริษัท สินธนาก๊อปปี้เซ็นเตอร์จำกัด.

เนตรทราย พัฒนพงษ์. (2559). ผลการใช้โปรแกรมการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวในการยิงประตูฟุตบอลโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการพัฒนาต้านทักษะปฏิบัติของซิมซันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 13(2), 119-128.

สบสันต์ มหานิยม. (2555). ผลของการฝึกด้วยน้ำหนักที่มีต่อสมรรถภาพทางกายและสัดส่วนร่างกายของ นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการฝึกด้วยน้ำหนัก. คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

หงส์ทอง บัวทอง. (2559). ผลของการใช้โปรแกรมฝึกความคล่องแคล่วร่วมกับการเพิ่มความหนักของงานต่อความคล่องแคล่วและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาของนักกีฬาวอลเลย์บอลชาย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกาลังกายและการกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬามหาวิทยาลัยบูรพา.

อารีย์ อินสุวรรโณ. (2560). ผลของการใช้โปรแกรมการฝึกแบบผสมผสานที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.