การพัฒนาโปรแกรมการฝึกแบบเอสเอคิวร่วมกับการฝึกด้วยแรงต้านที่มีผลต่อ ความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬารักบี้ฟุตบอลหญิง

Main Article Content

สุรพล โพพยัคฆ์
ทิพย์รัตน์ ประเสริฐสังข์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมการฝึกแบบเอสเอคิวร่วมกับการฝึกด้วยแรงต้าน 2) ศึกษาความคล่องแคล่วของนักกีฬารักบี้ฟุตบอลหญิงโดยใช้โปรแกรมการฝึกแบบเอสเอคิวร่วมกับการฝึกด้วยแรงต้าน กลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในงานวิจัยเป็นนักกีฬารักบี้ฟุตบอลหญิงทีมมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 15 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือ
ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการฝึกแบบเอสเอคิวร่วมกับการฝึกด้วยแรงต้าน 2) แบบทดสอบความคล่องแคล่วของอิลลินอยส์และ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่า “ที” (t-test)


         ผลการวิจัยพบว่า 1. โปรแกรมการฝึกแบบเอสเอคิวร่วมกับการฝึกด้วยแรงต้านแบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย 1) การอบอุ่นร่างกาย (Warm up) 2) การฝึกด้วยโปรแกรมฝึก 9 สถานี และ 3) การกลับคืนสู่สภาวะปกติ (Cool down) และผลการประเมินความเหมาะสมของโปรแกรมการฝึกแบบเอสเอคิวร่วมกับการฝึกด้วยแรงต้านโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.47, S.D. = 0.15) 2. ผลการทดสอบความคล่องแคล่วของนักกีฬารักบี้ฟุตบอลหญิง โดยใช้แบบทดสอบของอิลลินอยส์ (The Illinois agility test) ก่อนการฝึกเท่ากับ 21.79 วินาที (S.D. = 0.21) หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 เท่ากับ 19.33 วินาที (S.D. = 0.21) หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 เท่ากับ 17.62 วินาที (S.D. = 0.21) ผลการทดสอบด้วยค่าสถิติ Wilcoxon sign rank test แบบจับคู่ที่ระดับนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 พบว่า ผลการทดสอบความคล่องแคล่วของนักกีฬารักบี้ฟุตบอลหญิง ก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตมุข หล่าบรรเทา. (2554) การเปรียบเทียบผลการฝึกด้วยเครื่องออกกำลังกายแบบฟรีเวทที่ใช้แรงต้านจากแรงอัดอากาศ ผสมกับแรงต้านด้วยน้ำหนักในสัดส่วนที่แตกต่างกันต่อความแข็งแรงและพลังกล้ามเนื้อ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชูศักดิ์ เวชแพทย์ และกันยา ปาละวิวัธน์. (2536). สรีรวิทยาของการออกกำลังกาย. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ: ธรรกมลการพิมพ์.

ไตรมิตร โพธิแสน. (2555). ผลของโปรแกรมการฝึกเสริมด้วยห่วงพลาสติกที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไว. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ไตรมิตร โพธิแสน และจักรดาว โพธิแสน. (2558). ผลของการฝึกด้วยห่วงพลาสติกที่มีต่อความคล่องแคล่ว ว่องไวและพลังกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาวอลเลย์บอลชาย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. พลศึกษาและการจัดการกีฬา คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ถกลศักดิ์ หังสาจล. (2554). สภาพและปัญหาการเตรียมทีมกีฬารักบี้ฟุตบอลเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิตบัณฑิต, สาขาวิชาพลศึกษา คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นิกร สนธิ์จันทร์. (2560). ผลของการฝึกโปรแกรมความเร็ว ความคล่องแคล่วและความว่องไว (เอสเอคิว) แบบประยุกต์ที่มีต่อความเร็วในการวิ่งเบสของนักกีฬาซอฟ์ทบอล. มหาวิทยาลัยบรูพา.

บุญเจือ สินบุญมา และวุฒิชัย ประภากิตติรัตน์. (2558). ผลการฝึกแบบผสมผสานที่มีต่อความเร็ว และความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาวอลเล่ย์บอลระดับประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ หลักสูตรครุศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์).

พีรัชฌ์ สมทรโชติช่วง. (2551). สภาพและปัญหาการเตรียมทีมนักกีฬากอล์ฟเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 35. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (พลศึกษา ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.

ภัสสร ธูปบุตร. (2562). ผลการฝึกแบบผสมผสานและการฝึกแบบควบคู่ที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อขา และความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิง. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.มนุษยศาสตร์. 24(2), 70-83.

วิไลพิน ทองประเสริฐ. (2556). อิทธิพลของรูปแบบการฝึกสอนกีฬาการตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางการกีฬาและแรงจูงใจภายในที่ส่งผลต่อการประสบความสำเร็จทางการกีฬา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา.

สนธยา สีละมาด. (2547). หลักการฝึกกีฬาสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพล รักษาทรัพย์. (2563). ผลของโปรแกรมการฝึกรูปแบบ เอส เอ คิว ตามแนวคิดของเฮล ที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาฟุตซอลชาย โรงเรียนกีฬากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิ, สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรี.

อติเทพ วิชาญ. (2562). ผลการฝึกแบบผสมผสานที่มีผลต่อความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไว ในนักกีฬาแฮนด์บอลหญิงสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตลำปาง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

อภิวัฒน์ ปานทอง, อริญชย์ พรหมเทพ, นพรักษ์ แกสมาน, วีรวัฒน์ คำแสนพันธ์ และจีรวัฒน์ สัทธรรม. (2560). การวางแผนระยะยาวสำหรับพัฒนานักกีฬา. สาขาวิชาพลศึกษาและวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.อายุ 19-59 ปี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สัมปชัญญะ.

Hale, Jamie. (2006).Skill:Quickness Training.Retrieved Sebtember 25, 2007, from http://www.southern.usta.com/sportscience/fullstory.sps?iNewsID=52777&itype=3919&icate goryID.