ผลของการฝึกด้วยน้ำหนักกลุ่มกล้ามเนื้อส่วนบนกับกลุ่มกล้ามเนื้อส่วนล่างที่มีต่อความเร็วในการออกหมัดตรงของนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นเพศชาย อายุ 16-18 ปี โรงเรียนกีฬาจังหวัดอ่างทอง

Main Article Content

สุภาพร อินทร์ประโคน
อธิวัฒน์ ดอกไม้ขาว
เพิ่มพร บุพพวงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกด้วยน้ำหนักกลุ่มกล้ามเนื้อส่วนบนกับกลุ่มกล้ามเนื้อส่วนล่างที่มีต่อความเร็วในการออกหมัดตรงของนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นเพศชาย อายุ 16-18 ปี โรงเรียนกีฬาจังหวัดอ่างทอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักกีฬามวยสากลสมัครเล่นเพศชายของโรงเรียนกีฬาจังหวัดอ่างทอง จำนวน 30 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 10 คน ทำการฝึกตามโปรแกรมเป็นเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม ฝึกตามโปรแกรมการฝึกทักษะของนักกีฬามวยสากลสมัครเล่น กลุ่มที่ 2 กลุ่มทดลอง ฝึกตามโปรแกรมการฝึกทักษะของนักกีฬามวยสากลสมัครเล่น
ร่วมกับโปรแกรมการฝึกด้วยน้ำหนักกลุ่มกล้ามเนื้อส่วนบน และกลุ่มที่ 3 กลุ่มทดลอง ฝึกตามโปรแกรมการฝึกทักษะของนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นร่วมกับโปรแกรมการฝึกด้วยน้ำหนักกลุ่มกล้ามเนื้อส่วนล่าง ทำการทดสอบค่าเฉลี่ยความเร็วในการออกหมัดตรงของทั้ง 3 กลุ่ม ก่อนการฝึก หลักการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 นำผลที่ได้มาวิเคราะห์โดยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้วิธีการของ LSD ซึ่งกำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ซึ่งผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยความเร็วในการออกหมัดตรง พบว่า


ระหว่างกลุ่ม ค่าเฉลี่ยความเร็วในการออกหมัดตรง หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 พบว่า กลุ่มที่ 1 แตกต่างกับ กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 รวมทั้ง กลุ่มที่ 2 แตกต่างกับ กลุ่มที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ภายในกลุ่ม ค่าเฉลี่ยความเร็วในการออกหมัดตรง กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 พบว่า
ก่อนการฝึกแตกต่างกับหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 รวมทั้ง หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 แตกต่างกับหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 อย่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การฝึกด้วยน้ำหนักกลุ่มกล้ามเนื้อส่วนบนกับกลุ่มกล้ามเนื้อส่วนล่าง เป็นรูปแบบที่เหมาะสมและส่งผล ต่อความเร็วในการออกหมัดตรงของนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นเพศชาย อายุ 16-18 ปี ดีกว่าการฝึกรูปแบบปกติ อีกทั้งไม่พบการบาดเจ็บระหว่างทำการฝึกตลอดระยะเวลา 8 สัปดาห์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ประยงค์ หัตถพรหม. (2561). การเปรียบเทียบผลการฝึกความแข็งแรงระหว่างบนพื้นกับลูกบอลออกกำลังกายในผู้สูงอายุชาย อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สนธยา สีละมาด. (2555). หลักการฝึกสอนกีฬาสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สบสันต์ มหานิยม. (2555). ผลการฝึกด้วยน้ำหนักที่มีต่อสมรรถภาพทางกายและสัดส่วนร่างกายของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการฝึกด้วยน้ำหนัก. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

สุคนธ์ อนุนิวัฒน์ ทศพล ธานี และสาธิน ประจันบาน. (2562). ผลของการฝึกด้วย ที อาร์ เอ็กซ์ และการฝึกด้วยน้ำหนักของร่างกายที่มีต่อความแข็งแรงอดทนของกล้ามเนื้อ. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 45(1), 1-12.

วันใหม่ ประพันธ์บัณฑิต และคณะ. (2562). การเปลี่ยนแปลงความสามารถของนักมวยไทยอาชีพภายหลังการฝึก 6 สัปดาห์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา, 19(1), 120-132.

อติเทพ วิชาญ. (2562). ผลการฝึกแบบผสมผสานที่มีผลต่อความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาแฮนด์บอลหญิงสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตลำปาง. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

อริย์ธัช หนูแก้ว และวันชัย บุญรอด. (2563). ผลของการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการฝึกมวยไทยแบบวงจรที่มีต่อความสามารถทางอากาศนิยมและสมรรถนะทางกายของนักมวยไทยอาชีพ. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 21(3), 355-365.

อานันท์ อ่อนฤทธิ์ และคณะ. (2562). ผลของการฝึกแรงต้านแบบฟังก์ชั่นและการฝึกด้วยน้ำหนักแบบดั้งเดิมที่ส่งผลต่อความเร็วของหัวไม้ในนักกีฬากอล์ฟ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา, 19(2), 20-31.

Davis, R.J. ;et al. (2015). Theories of behaviour and behaviour change across the social and behavioural sciences: a scoping review. Health Psychology Review, 9(3), 1-22.