แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับนักกีฬาวอลเลย์บอลชายหาดหญิง ระดับอุดมศึกษา

Main Article Content

ธนิยา สิทธานนท์
วิชาญ มะวิญธร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับนักกีฬาวอลเลย์บอลชายหาดหญิง ระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วยข้อทดสอบ 6 รายการ ได้แก่ 1) ดันพื้น 2) นอนยกลำตัว
3) ก้าวกระโดดสูง 4) T-Test 5) Cooper 1.5 Mile Run และ 6) วิ่งเร็ว 20 เมตร หาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยวิธีการหาค่าดัชนีความสอดคล้องของ Rovinelli and Hambleton จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน
หาค่าความเที่ยงตรงตามสภาพโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนทดสอบที่ได้จากแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและแบบทดสอบมาตรฐาน หาค่าความเชื่อถือได้ด้วยวิธีการทดสอบซ้ำ และหาค่าความเป็นปรนัยโดยใช้ผู้ประเมินจำนวน 2 ท่านโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือ เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลชายหาดหญิง ที่กำลังศึกษาอยู่ใน
ปีการศึกษา 2565 ของสถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และภาคกลาง จำนวน 15 สถาบัน ๆ ละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 30 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) โดยการทดสอบซ้ำ สำหรับระยะเวลาในการทดสอบ ระหว่างวันที่            1 กรกฎาคม – 31 สิงหาคม 2565 สัปดาห์ที่ 1 ระหว่างวันที่ 7 - 8 พ.ค. 65 สัปดาห์ที่ 2 ระหว่างวันที่ 14 - 15 พ.ค. 65 สัปดาห์ที่ 3 ระหว่างวันที่ 4 - 5 มิ.ย. 65 สัปดาห์ที่ 4 ระหว่างวันที่  11 - 12 มิ.ย. 65 สัปดาห์ที่ 5 ระหว่างวันที่  2 - 3 ก.ค. 65 สัปดาห์ที่ 6 ระหว่างวันที่ 9 - 10 ก.ค. 65 เป็นการทดสอบทั้ง 6 รายการ


ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับนักกีฬาวอลเลย์บอลชายหาดหญิงระดับอุดมศึกษา 1) มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 2) มีความเที่ยงตรงตามสภาพ มีค่าเท่ากับ 0.98
3) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ความเชื่อได้ของรายการ ดันพื้น นอนยกลำตัว ก้าวกระโดดสูง T-Test Cooper 1.5 Mile Run และวิ่งเร็ว 20 เมตร มีค่าเท่ากับ 0.92 1.00 0.99 0.99 0.99 และ 1.00 ตามลำดับ ตามลำดับ 4) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ความเป็นปรนัยของรายการ ดันพื้น นอนยกลำตัว ก้าวกระโดดสูง T-Test Cooper 1.5 Mile Run วิ่งเร็ว 20 เมตร มีค่าเท่ากับ 0.99 1.00 1.00 1.00 0.99 และ 1.00 ตามลำดับ 5) สร้างเกณฑ์ปกติสมรรถภาพทางกายในแต่ละรายการ ด้วยการแจกแจงแบบโค้งปกติ และแบ่งเกณฑ์ระดับสมรรถภาพทางกายเป็น 5 ระดับคือ ดีมาก ดี ปานกลาง ต่ำ และต่ำมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองวิชาการ การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2561). คู่มือการเสริมสร้างทักษะกีฬาวอลเลย์บอลชายหาด. กรุงเทพฯ: การกีฬาแห่งประเทศไทย.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2557). วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา : Science of Coaching. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัท สินธนาก๊อปปี้เซ็นเตอร์ จำกัด.

ฉลอง แขวงอินทร์. (2545). แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับนักกีฬาบาสเกตบอลชายระดับอุดมศึกษา. (ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา), กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ถาวร กมุทศรี. (2560). การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย Physical Fitness Conditioning. กรุงเทพฯ: หจก.มีเดีย เพรส.

ปรีชา กลิ่นรัตน์. (2560). การเป็นโค้ชมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟิวเจอร์ เพรส แอนด์ กราฟฟิค.

ปวรวรรณ แพนเกาะ. (2565). “ผลของการออกกำลังกายแบบสถานีในรูปแบบห้องเรียนออนไลน์ที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักเรียนชายวัยรุ่นอายุ 13 - 15ปี” วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 22(2), 1-3.

ศาตรา เอื้อเฟื้อ. (2561). การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาวอลเลย์บอลชายหาด. (ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมพร ส่งตระกูล. (2565). “ผลของการฝึกตารางใยแมงมุมและตารางเก้าช่องที่มีผลต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความคล่องแคล่วว่องไว และความเร็วของนักกีฬาวอลเลย์บอล” วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 22(2), 63-64.

American College of Sport medicine. (2011). ACSM’s Complete Guide to Fitness & Health. Illinois: Human Kinetics.

Baumgartner, T. A., Jackson, A. S., Mahar, M. T. & Rowe. D. A. (2003). Measurement for Evaluation in Physical Education and Exercise Science. (7th ed.). Boston, Massachusetts: McGraw-Hill.

Johnson, B.L. & Nelson, J.K. (1986). Practical Measurements for Evaluation in Physical Education, (4th ed.). NY: Macmillan Pub.

Kaminsky L. (2010). ACSM’s health-related physical fitness assessment manual. (3rd ed.). Hong kong: Lippincott Williams & Wilkins.

Kirkendall, D. R., J. J. G. & Johnson, R. E. (1980). Measurement and Evaluation in Physical Education. Dubuque, Iowa: Wm. C. Brown Company.

Morrow, J. R., Mood, D. P., Disch, J. G. & Kang. M. (2016). Measurement and Evaluation in Human Performance. Illinois: Human Kinetics.

Lacy, C. A., & Williams, S.M. (2018). Measurement and Evaluation in Physical Education and Exercise Science. (8rd ed.). London: Routledge.

Todd M. (2012). NSCA's Guide to Tests and Assessments (NSCA Science of Strength & Conditioning). Illinois: Human Kinetics.