ผลของรูปแบบการฟื้นตัวที่มีต่ออัตราการเต้นของหัวใจหลังการออกกำลังกาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการฟื้นตัว แบบที่ 1, แบบที่ 2 และแบบที่ 3 ที่มีต่ออัตราการเต้นของหัวใจหลังการออกกำลังกายและเปรียบเทียบอัตราการเต้นของหัวใจหลังการออกกำลังกายระหว่างรูปแบบการฟื้นตัว แบบที่ 1, แบบที่ 2 และแบบที่ 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาของชมรมฟุตบอลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพศชาย จำนวน 20 คน อายุ 19-22 ปี ที่เข้าร่วมการแข่งขันรายการไทยแลนด์ ไพรม์มินิสเตอร์ คัพ 2563 มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบ PWC 170 และรูปแบบการฟื้นตัวหลังการออกกำลังกาย 3 รูปแบบ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยผ่านการตรวจความเที่ยงตรงเฉพาะหน้า จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแปรปรวนของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจหลังการออกกำลังกายภายในรูปแบบการฟื้นตัว 3 รูปแบบ คือ แบบที่ 1 การใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวที่ความหนัก 50% ของอัตราการเต้นหัวใจสำรอง พร้อมกับให้ความเย็น 5 นาที และให้ความเย็นอย่างเดียวอีก 5 นาที ในนาทีที่ 1 นาทีที่ 5 และนาทีที่ 10 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แบบที่ 2 การใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวที่ความหนัก 50% ของอัตราการเต้นหัวใจสำรอง 5 นาที และให้ความเย็น 5 นาที ในนาทีที่ 1 นาทีที่ 5 และนาทีที่ 10 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แบบที่ 3 การนั่งพักให้ความเย็นและดื่มน้ำเย็น 10 นาที ในนาทีที่ 1 นาทีที่ 5 และนาทีที่ 10 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ผลของการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยทางสถิติระหว่างรูปแบบการฟื้นตัว 3 รูปแบบ พบว่า แบบที่ 3 การนั่งพักให้ความเย็นและดื่มน้ำเย็น 10 นาที หลังการออกกำลังกายจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลงรวดเร็วที่สุดในช่วงนาทีที่ 1 และนาทีที่ 5 เมื่อเปรียบเทียบกับ แบบที่ 1 และแบบที่ 2 แต่เมื่อเปรียบเทียบในนาทีที่ 10 รูปแบบการฟื้นตัวทั้ง 3 รูปแบบ มีค่าเฉลี่ยทางสถิติไม่แตกต่างกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์
References
เจริญ กระบวนรัตน์. (2557). วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สินธนาก๊อปปี้ เซ็นเตอร์ จำกัด.
ชูศักดิ์ เวชแพทย์ และกันยา ปาละวิวัธน์. (2536). สรีรวิทยาของการออกกำลังกาย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ธรรกมลการพิมพ์.
ฐาปนา ถาวร. (2562). การเปรียบเทียบรูปแบบการฟื้นตัวหลังการออกกำลังกายในช่วงเวลาพักที่มีต่ออัตราการเต้นของหัวใจในนักกีฬาฟุตซอล. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา, มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
ณัฐชนนท์ ซักพุง. (2557). ผลของรูปแบบการฟื้นสภาพภายหลังออกกำลังกายที่มีต่อระดับความเข้มข้นของกรดแลคติกและอัตราการเต้นของหัวใจในนักกีฬาฟุตบอล. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ไพรัช เลิศเกียรติศักดิ์. (2527). เปรียบเทียบการฟื้นตัวหลังการออกกำลังกาย ระหว่างวิธีการดื่มน้ำเย็น การชโลมน้ำเย็นและการนั่งพักในห้องอุณหภูมิต่ำ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เรวัติ สุดาจันทร์, อําพร ศรียาภัย และสุพิตร สมาหิโต (2565). ผลเฉียบพลันของการยืดกล้ามเนื้อแบบอยู่กับที่แบบเคลื่อนที่ และแบบกระตุ้นการรับรู้ระบบประสาทกล้ามเนื้อ ที่มีต่ออาการเจ็บระบมกล้ามเนื้อ. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 48(1), 99-110.
วิชากร เฮงษฎีกุล. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จในอาชีพนักกีฬาฟุตบอลหญิงในประเทศไทย. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 18(3), 127-137.
วันดี ขาวโอภาส. (2542). การเปรียบเทียบระยะฟื้นตัวหลังการออกกำลังกาย โดยวิธีดื่มน้ำธรรมดากับเครื่องดื่มเกลือแร่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุดาวรรณ วุฒิชาติ และณัฐิกา เพ็งลี (2565). ผลของการฝึกแบบหนักสลับเบาด้วยรูปแบบการวิ่งหลายทิศทางที่มีต่อสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนและสมรรถภาพแบบไม่ใช้ออกซิเจน ในนักกีฬาแบดมินตันรุ่นเยาวชน. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 48(1), 24-35.
สุภาพร โกเมนเอก. (2551). การเปรียบเทียบผลของการฟื้นตัวหลังการออกกำลังกายด้วยวิธีการต่าง ๆ ต่อประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายในนักกีฬา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมบัติ อ่อนศิริ. (2542). การเปรียบเทียบอัตราการเต้นของหัวใจในระยะฟื้นตัวในท่านั่งและท่านอน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมบัติ อ่อนศิริ. (2562) พลังงานกับการออกกำลังกาย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วิสต้าอินเตอร์ปริ้นท์ จำกัด.
อิสริยา ทองห่อ. (2559) ผลของวิธีการฟื้นตัวภายหลังการออกกำลังกายที่มีต่อกรดแลคติกในเลือดอัตราการเต้นของหัวใจและสมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิกในนักกีฬา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา, มหาวิทยาลัยบูรพา
Cengiz, A. M. (2015). Effects of self-selected dehydration and meaningful rehydration on anaerobic power and heart rate recovery of elite wrestlers. The Society of Physical Therapy Science, 27(5), 1441-1444.
Jinnah, A. H., Luo, T. D., Mendias, C., & Freehill, M. (2019). Cryotherapy duration is critical in short-term recovery of athletes: a systematic review. Journal of ISAKOS, 4(3), 131-136.
Macnab, R. B., Conger, R. P., & Taylor, P. S. (1969). Differences in maximal and submaximal work capacity in men and women. Journal of Applied Physiology, 27(5), 644-648.
The international football association board. (2019). Laws of the Game 2019/20. Zurich: n.p.
Wilcock, I. M., Cronin, J. B., & Hing, W. A. (2006). Physiological response to water immersion: a method for sport recovery. Sports Med, 36(9), 747-765.