ผลของการฝึกเต้นแอโรบิกด้วยโปรแกรม E75 ที่มีต่อองค์ประกอบของร่างกายและความกลัวการล้มของผู้สูงอายุ The Effect of Aerobic Dance with E75 Exercise Program on Body Composition and Fear of Falling in the Elderly.
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลของการเต้นแอโรบิกด้วยโปรแกรม E75 ที่มีต่อองค์ประกอบของร่างกายและความกลัวการล้มของผู้สูงอายุ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลของการเต้นแอโรบิกด้วยโปรแกรม E75 ที่มีต่อองค์ประกอบของร่างกายและความกลัวการล้มของผู้สูงอายุ ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลของการเต้นแอโรบิกด้วยโปรแกรม E75 ที่มีต่อองค์ประกอบของร่างกายและความกลัวการล้มของผู้สูงอายุ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครปฐม มีช่วงอายุระหว่าง 60-70 ปี จำนวน 30 คน ซึ่งได้จากคำนวณ G*power แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง 15 คน และ กลุ่มควบคุม 15 คน กลุ่มทดลองเข้ารับการฝึกเต้นแอโรบิกด้วยโปรแกรม E75 เป็นเวลา 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน เครื่องมือที่ใช้ คือ การเต้นแอโรบิกด้วยโปรแกรม E75 เครื่องมือวิเคราะห์องค์ประกอบของร่างกาย TANITA SC-330P และแบบประเมินความกลัวการล้ม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ Paired t-test และ Independent t-test
ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลองก่อนการฝึกและหลังการฝึก พบว่า การทดสอบดัชนีมวลกาย
และมวลกล้ามเนื้อไม่แตกต่างกัน แต่ผลการทดสอบเปอร์เซ็นต์ไขมันและความกลัวการล้มแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ผลการเปรียบเทียบภายในกลุ่มควบคุมก่อนการฝึกและหลังการฝึก พบว่า การทดสอบดัชนีมวลกาย
และความกลัวการล้มไม่แตกต่างกัน แต่ผลการทดสอบเปอร์เซ็นต์ไขมันและมวลกล้ามเนื้อแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ผลการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมหลังการฝึก พบว่า การทดสอบดัชนีมวลกาย
เปอร์เซ็นต์ไขมัน และมวลกล้ามเนื้อไม่แตกต่างกัน แต่การทดสอบความกลัวการล้มแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ : การเต้นแอโรบิกด้วยโปรแกรม E75 องค์ประกอบร่างกาย ความกลัวการล้ม ผู้สูงอายุ
Abstract
The research objectives of this study included 1) to study the effect of E75 aerobic exercise program on body composition and fear of falling of the elderly; 2) to compare the effect of aerobics with E75 program on body composition and fear of falling of the elderly within the experimental group and the control group; and 3) to compare the effect of aerobics with E75 program on body composition and fear of falling of the elderly between the experimental group and the control group. The samples were elderly people living in Nakhon Pathom Province whose age ranged from 60 to 70 years old. The sample of 30 people, which its size was calculated by G*power, was divided into two groups, 15 people in the experimental group and 15 people in the control group. The experimental group were trained with E75 aerobic exercise program for 12 weeks, 3 days per week. The instruments were the E75 aerobic exercise program, TANITA SC-330P body composition analyzer equipment, and the fear of falling assessment form. The statistics used to analyze data were Paired t-test and Independent t-test.
The results were found as follows:
- The results of comparison within the experimental group before training and after training
found that the body mass index and muscle mass index revealed no differences, but the body fat percentage and fear of falling were significantly different at the .05 level.
- The results of comparison within the control group before training and after training found
that the body mass index and fear of falling test revealed no differences, but the fat percentage and muscle mass were significantly different at the .05 level.
- The results of comparison between the experimental group and the control group after
training found that the body mass index, fat percentage and muscle mass revealed no differences, but the fear of falling was significantly different at the .05 level.
Keywords: Aerobics with E75 program body composition fear of falling elderly
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Critical thinking in journals is the right of the author. The Association of Health Education, Physical Education and Recreation of Thailand is not always required, to create diversity in ideas and creativity.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์