การออกกำลังกายความเข้มข้นสูงที่มีผลต่อน้ำหนักตัวและค่าดัชนีมวลกาย

Main Article Content

อรอุมา นาทสีทา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการออกกำลังกายความเข้มข้นสูงที่มีต่อน้ำหนักตัวและค่าดัชนีมวลกายของนักศึกษาและบุคลากรสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา กลุ่มเป้าหมายคือนักศึกษาและบุคลากรที่มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 23.00 kg/mขึ้นไป จำนวน 14 คน เลือกแบบเจาะจงและเป็นผู้สมัครใจเข้าร่วมโครงการ เครื่องมือ
ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล พฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกาย โปรแกรมการฝึกออกกำลังกายความเข้มข้นสูง แบบบันทึกน้ำหนักตัวและค่าดัชนีมวลกาย เก็บรวบรวมข้อมูลโดย
วัดน้ำหนักตัวและค่าดัชนียมวลกายก่อนและหลังการออกกำลังกายความเข้มข้นสูง วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยค่าความถี่และค่าร้อยละ วิเคราะห์น้ำหนักตัวและดัชนีมวลกายด้วยค่าร้อยละของการเปลี่ยนแปลง ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบ t-test dependent ผลการวิจัยพบว่า


1) กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 55 มีน้ำหนักตัวเฉลี่ยเท่ากับ 73.94 มีค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ยเท่ากับ 26.88


2) น้ำหนักตัวของกลุ่มเป้าหมายก่อนและหลังการออกกำลังกายความเข้มข้นสูงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และค่าดัชนีมวลกายของกลุ่มเป้าหมายก่อนและหลังการออกกำลังกายความเข้มข้นสูงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001


3) ข้อเสนอแนะ ควรออกกำลังกายต่อเนื่อง 30-45 นาที/ครั้ง ด้วยอัตราการเต้นของหัวใจร้อยละ 60 -70 ครั้งของอัตราเต้นสูงสุดของหัวใจสูงสุดอย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์ เพื่อเผาผลาญไขมันในร่างกาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐพงศ์ วีระทวีพร อรอุมา นาทสีทาและธเนศ แม้นอินทร์. (2560). จิตรลดาสุขภาวะดี ชีวีมีสุข ระยะ 2 รายงานวิจัยทุนสนับสนุนสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา.

ปิยะพงษ์ สายสวาท. (2558). ผลของโปรแกรมการฝึกแบบหนักสลับเบาร่วมกับหลักการความก้าวหน้าต่อดัชนีมวลกายองค์ประกอบของร่างกายและความสามารถในการนำออกซิเจนไปใช้สูงสุดของนักศึกษาหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์, การออกกำลังกายและการกีฬา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประชาชาติธุรกิจ (2565). โรค NCDs ฆาตกรเงียบที่คุกคามอนาคตประเทศไทย. สืบค้นเมือ1 เมษายน 2565, สืบค้นจาก https://www.prachachat.net/csr-hr/news-846545

สุดาวรรณ วุฒิชาติ. (2565). ผลของการฝึกแบบหนักสลับเบาด้วยรูปแบบการวิ่งหลายทิศทางที่มีต่อสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนและสมรรถภาพแบบไม่ใช้ออกซิเจน ในนักกีฬาแบดมินตันรุ่นเยาวชน. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 48 (1), 24-35.

อรนภา ทัศนัยนา. (2561). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีต่อค่าดัชนีมวลกายและเปอร์เซ็นต์ไขมันของหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 44 (1), 303-317.

Pobpad.com. (2016). HIIT สูตรออกกำลังกายลดไขมันใน 30 นาที. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2565, สืบค้นจาก https://www.pobpad.com/hiit.

D'Amuri, A., Maria Sanz, J., Capatti, E., Di Vece, F., Vaccari, F., Lazzer, S., Zuliani, G., Nora, D. E., (2021). Effectiveness of high-intensity interval training for weight loss in adults with obesity: a randomised controlled non-inferiority trial. BMJ Open Sport & Exercise Medicine journal, 7 (3), 1-10.

Robinson, K. M. (2020). HIIT (High-Intensity Interval Training). Retrieved 14 May 2022, From https://www.webmd.com/fitness-exercise/a-z/high-intensity-interval-training-hiit

Sijie, T., Hainai, Y., Fengying, Y., Jianxiong W. (2012). High intensity interval exercise training in overweight young women. J Sports Med Phys Fitness, 52(3), 255–262.

Wewege, M.,Van den Berg,R., Ward, R. E.,Keech, A. (2017). The effects of high-intensity interval training vs. moderate-intensity continuous training on body composition in overweight and obese adults: a systematic review and meta-analysis. Retrieved 1 Mach 2022, From https://doi.org/10.1111/obr.12532.