ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดและการจัดการความเครียดในการเรียนออนไลน์ ของนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา

Main Article Content

ปรัชญา วังตระกูล
กฤษดา ตามประดิษฐ์
ทิพนาพย์ เมืองมา
วิษณุ สมัครเขตรการ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดและการจัดการความเครียดในการเรียนออนไลน์ของนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยาจำแนกตามเพศและชั้นปี กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 401 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามได้ค่าความตรงตามเนื้อหา 0.60 และค่าความเชื่อมั่น 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent Sample t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการวิจัย พบว่า
1) ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดและการจัดการความเครียดในการเรียนออนไลน์ของนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (X̅ = 3.02, S.D. = 0.74) และ (X̅ = 2.78, S.D. = 0.49)


2) การเปรียบเทียบปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดในการเรียนออนไลน์ของนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา จำแนกตามเพศและชั้นปี ไม่มีความแตกต่างกัน


3) การเปรียบเทียบการจัดการความเครียดในการเรียนออนไลน์ของนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา จำแนกตามเพศพบว่า การการปรับความคิด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามชั้นปี พบว่า ด้านการระบายความเครียด นิสิตชั้นปีที่ 4 แตกต่างกับชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2545). ภาวะความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบทางด้านร่างกายและจิตใจ. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th/ebook/view.aps?id=345

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (2563). มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 1. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2565 สืบค้นจาก https://www.mhesi.go.th/

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2564 สืบค้นจาก http://www.moph.go.th

กัลยรัตน์ มงคล, สุพิณญา เรืองอินทร์, สุทธิดา วัฒนะ, ปิยฉัตร ใจยะสาร, อรนนิภา แสงอินทร์ และคณะ. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการเรียนออนไลน์ของนิสิตพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปริญญาพยาบาลศาสตรบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

กฤษณา สิกขมาน. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการสื่อสารภาษาอังกฤษธุรกิจโดยการใช้การสอนแบบ E-Learning. รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

นิธิพนธ์ บุญเพิ่ม. (2553). ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

เบญจวรรณ วงค์ปราชญ์. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดและการเผชิญควาเครียดของนักเรียนพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(2). หน้า 201-210.

ไพศาล แย้มวงษ์. (2555). การศึกษาการสนับสนุนทางสังคมที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในชีวิตของนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาแนะแนว มหาวิทยาลัยศรีนครินทรโวฒ.

วิภาวรรณ ชอุ่ม เพ็ญสุขสันต์. (2545). ความเครียด การเผชิญความเครียด และความผาสุกในชีวิตของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1. รามาธิบดีพยาบาลสาร ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม, หน้า 90-109.

สมบัติ กาญจนกิจ. (2560.) นันทนาการและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ. (2564). การสำรวจความคิดเห็นการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2564 เข้าถึงได้จาก https://register.kpru.ac.th/RajabhatPoll/contents/20200007/rajabhatPoll.pdf

Anne Moir and David Jessel. (1992). Brain sex : the real difference between men and women. New York:Laurel.

Frydenberg, E., & Lewis, R (1991b). Adolescent coping: the different ways in which boys and girls cope. Journal of Adolescence, 14. 119-133.

Garland, L. M. & C.T. Bush. (1982). Coping Behaviors and Nursing. Virginia: Reston Publishing Co.Inc.

Lazarus, R., & Folkman, S. (1984). Stress, Appraisal, and Coping. New York: Springer.

Ptacek, J. T , Smith, R. E. , & Dodge, K . L . (1994). Gender differences in coping with stress: When stressor and appraisals do not differ. Personality and Social Psychology Bulletin, 20. 421- 430.