ผลของโปรแกรมฝึกแบบสถานีและโปรแกรมฝึกวิ่งเหยาะที่มีผลต่อดัชนีมวลกาย และเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย ของนักเรียนมัธยมศึกษา Effects of Circuit Training Program and Jogging Training Program on Body Mass Index and Body Fat Percentage of Secondary School Students

Main Article Content

ปภัสรา สระประทุม

Abstract

บทคัดย่อ


           การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยแบบกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการฝึกแบบสถานี และการฝึกวิ่งเหยาะที่มีผลต่อค่าดัชนีมวลกายและเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย ของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนศึกษานารี ที่มีเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย 26.1 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ด้วยวิธีการจับคู่สลับฟันปลา โดย กลุ่มที่ 1 ฝึกด้วยโปรแกรมฝึกแบบสถานี จำนวน 15 คน และกลุ่มที่ 2 ฝึกด้วยโปรแกรมฝึกวิ่งเหยาะ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) โปรแกรมฝึกแบบสถานี 2) โปรแกรมฝึกวิ่งเหยาะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียววัดซ้ำ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางชนิดวัดซ้ำ จากการทดสอบกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 ก่อนฝึกและหลังฝึกสัปดาห์ที่ 4, 6 และ 8 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลของการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยการทดสอบค่าดัชนีมวลกายและเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายที่ได้จากการทดสอบหลังสัปดาห์ที่ 4, 6 และ 8 ไม่แตกต่างกัน สรุปได้ว่า โปรแกรมฝึกแบบสถานีและโปรแกรมฝึกวิ่งเหยาะ สามารถลดเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของนักเรียนได้ดี


คำสำคัญ : การออกกำลังกายแบบสถานี การวิ่งเหยาะ ดัชนีมวลกาย เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย


Abstract


            This quasi-experimental research aimed to study and compare the results between circuit training and jogging training on BMI (body mass index) and body fat percentage in 30 cases of female eighth grade students of Suksanari School with body fat percentage of 26.1 percent or higher. The sample group was derived by purposive sampling and it was divided into two groups by zigzag matching. The first group of 15 cases practiced with circuit training and the second group of 15 cases practiced with jogging training. The tools consisted of 1) station training program 2) jogging training program. The statistics used for data analysis included mean, standard deviation, one-way repeated measures ANOVA and two-way repeated measures ANOVA. According to tests separately conducted with the first group and the second group pre-training and post-training after the 4th, 6th and 8th weeks, it was statistically significant at level of .05. There was no difference in the results of the comparison of the mean BMI test and body fat percentage obtained after the 4th, 6th and 8th weeks of testing. It was concluded that both circuit training and jogging training effectively reduced body fat percentage of students respectively.


Keywords: Circuit Training, Jogging Training, BMI, Body Fat Percentage

Article Details

Section
Research Articles