การศึกษาระดับทักษะกีฬาบาสเกตบอลของนักศึกษา หลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
จุดมุ่งหมายของการวิจัยเรื่องนี้ เพื่อ 1) ศึกษาระดับทักษะกีฬาบาสเกตบอล และ 2) สร้างระดับทักษะบาสเกตบอล ของนักศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยมี
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จำนวน 62 คน แบ่งเป็นนักศึกษา
เพศชาย จำนวน 40 คน และนักศึกษาเพศหญิง จำนวน 22 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบกีฬาบาสเกตบอลของแฮริสัน และแบบทดสอบการยิงประตูบาสเกตบอลระยะไกลและระยะใกล้ของแอล เอส ยู วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนที ผลการวิจัยพบว่า
- การศึกษาระดับทักษะบาสเกตบอลของนักศึกษาชายและนักศึกษาหญิง มีค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดังนี้ ทักษะการยิงประตูบาสเกตบอลของนักศึกษาชาย และนักศึกษาหญิง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12.00 คะแนน (S.D. = 0.04, S.D. = 0.07) ทักษะการส่งลูกบาสเกตบอลกระทบผนังของนักศึกษาชาย
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 30.00 คะแนน S.D. = 0.97) และ นักศึกษาหญิงมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 29.89 คะแนน (S.D. = 0.13) ทักษะการเลี้ยงลูกบาสเกตบอลของนักศึกษาชายมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 23.84 คะแนน S.D. = 1.34) และนักศึกษาหญิงมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 22.97 คะแนน (S.D. = 0.92) ทักษะการกระโดดรับลูกบาสเกตบอลของนักศึกษาชาย
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.98 คะแนน (S.D. = 1.29) และนักศึกษาหญิงมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.59 คะแนน (S.D. = 0.72) ทักษะการยิงประตูระยะไกล และระยะใกล้ของนักศึกษาชายมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.76 คะแนน (S.D. = 1.12) และนักศึกษาหญิงมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.38 คะแนน (S.D. = 0.68) - การสร้างระดับทักษะบาสเกตบอลของนักศึกษา หลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาพลศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีดังนี้ นักศึกษาชาย “ระดับสูงมาก” ตรงกับคะแนนทีที่ 69 ขึ้นไป “ระดับสูง” ตรงกับคะแนนทีที่ 60-68 “ระดับปานกลาง” ตรงกับคะแนนทีที่ 41-59 “ระดับต่ำ” ตรงกับคะแนนทีที่ 32-40 และ “ระดับต่ำมาก” ตรงกับคะแนนทีที่ 31 ลงมา นักศึกษาหญิง “ระดับสูงมาก” ตรงกับคะแนนทีที่ 69 ขึ้นไป“ระดับสูง” ตรงกับคะแนนทีที่ 60-68 “ระดับปานกลาง” ตรงกับคะแนนทีที่ 41-59 “ระดับต่ำ” ตรงกับคะแนนทีที่ 32-40 และ “ระดับต่ำมาก” ตรงกับคะแนนทีที่ 31 ลงมา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์
References
กอบกุล ชินชัยภูมิ (2561). การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาเซปักตะกร้อสำหรับนักศึกษาชาย สาขาพลศึกษา และนันทนาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วราสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 44(2), 48-60.
คำพาง ศรีท้าวปากดี. (2547). ระดับทักษะบาสเกตบอลของนักเรียนนักศึกษาวิชาเอกพลศึกษา วิทยาลัยพลศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2546. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (พลศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ผาณิต บิลมาศ. (2530). การวัดทักษะกีฬา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพลศึกษา คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ผาณิต บิลมาศ. (2546). เอกสารประกอบการสอนวิชาการวัดประเมินผลพลศึกษา. กรุงเทพฯ : ภาควิชาพลศึกษา คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พยุงศักดิ์ สนเทศ. (2530). การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬา. วารสารสุขศึกษา พลศึกษาและสันทนาการ, 16(1), 19-23.
เรืองวิทย์ ศิริพัฒน์. (2552). ระดับทักษะบาสเกตบอลของนักเรียนช่วงชั้น 3 ในเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2551. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (พลศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ละเมียด กรยุทธพิพัฒน์. (2528). การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาแฮนด์บอลสำหรับนักเรียนชายระดับอุดมศึกษา. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (พลศึกษา) . บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วาสนา คุณาอภิสิทธิ์. (2539). การสอนพลศึกษา. กรุงเทพฯ: ส่งเสริมวิชาการ.
วิริยา บุญชัย. (2529). การทดสอบและวัดผลทางพลศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
Barrow, H.M. and R. McGee. (1979). A Practical Approach to Measurement in Physical Education. 3rd ed. London : Lea & Febiger.
Mathews, Donald K. (1978). Measurement in Physical Education. Philadelphia : N.B. Saunders Company.