ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้เทคนิคช่วยจำที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบี่กระบองของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกระบี่กระบอง
ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยการใช้เทคนิคช่วยจำ และ 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกระบี่กระบองระหว่างนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้เทคนิคช่วยจำ และนักเรียน
ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ที่เรียนวิชากระบี่กระบองภาคเรียนที่ 2 จำนวน 56 คน แบ่งกลุ่มโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง
อย่างง่าย โดยการจับฉลากเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จำนวน 28 คน กลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้เทคนิคช่วยจำ ซึ่งมีค่าความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.90 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกระบี่กระบองด้านความรู้
มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.93 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.74 และค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.80 - 1.00
ด้านเจตคติ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.91 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 และค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ
0.60 - 1.00 ด้านคุณธรรมจริยธรรม มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.95 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87
และค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.80 - 1.00 ด้านทักษะ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และด้านสมรรถภาพทางกาย มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.60 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกระบี่กระบองด้านความรู้ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านเจตคติ และด้านทักษะของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้เทคนิคช่วยจำสูงขึ้นกว่าก่อนการได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้เทคนิคช่วยจำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05 2) คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกระบี่กระบองหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้านความรู้ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านเจตคติ ด้านทักษะ และด้านสมรรถภาพทางกาย (เพศหญิง) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์
References
กรมพลศึกษา. (2560). กระบี่กระบองมรดกลูกหลานไทยต้องสืบทอด. วารสารกรมพลศึกษา, 12(5), 4-5. กระทรวงวัฒนธรรม. (2562). กระบี่กระบอง. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2562, สืบค้นจาก https://www.educatepark.com/story/ประวัติกระบี่กระบอง
ธีร์วรา ปลาตะเพียนทอง และภัทร์ธีรา เทียนเพิ่มพูน. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้านคำศัพท์ และความคงทนโดยใช้เทคนิคช่วยจำร่วมกับสมุดภาพคำศัพท์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(3), 533-547.
พัชรี ใจโต. (2559). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกมด้วยเทคนิคช่วยจำ เรื่อง ชนิดของคำใน ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหัววัง. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(1), 679-688.
พิรมลักษณ์ ตันปาน. (2561). การพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวภาษาเพื่อการสื่อสารประกอบเทคนิคนีมโมนิคส์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการเรียนการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
ไพบูลย์ ศรีชัยสวัสดิ์ และคณะ. (2553). การออกกำลังกายด้วยศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวโดยใช้อาวุธไทยสมัยโบราณ: กระบี่กระบองที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกาย. ภาควิชาพลศึกษา คณะพลศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ.
วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2548). ปรัชญา หลักการ วิธีสอนและการวัดเพื่อประเมินทางพลศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิลาวรรณ จรูญผล และคณะ. (2564). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย ด้วยเทคนิคการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 15(3), 75-83.
ศุภวรรณ วงศ์สร้างทรัพย์ และคณะ. (2555). เกณฑ์สมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา. รายงานการวิจัย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อดิศักดิ์ โคตรชุม. (2562). การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์เพื่อประกอบการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 5(2), 67-76.
อภิเชษฐ์ ขาวเผือก. (2559). การพัฒนาเกมการศึกษาบนแท็บเล็ตโดยใช้เทคนิคช่วยจำเพื่อส่งเสริมความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดสะแกงาม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(2), 1416-1431.
อัสมิน มูลา. (2554). ผลของการใช้เทคนิคช่วยจำ: กลวิธีการใช้สำคัญต่อการรับรู้คำศัพท์และความคงทนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปัตตานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาอังกฤษศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ.
Makau, Muola and Amukowa. (2019). Appropriateness of Mnemonic Techniques on Mathematics and Social Studies Learning Outcomes in Public Primary School in Machakos Sub-County, Kenya. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 7(5), 990-999.
Samran H. (2019). 3 Technique Mnemonics. Retrieved July 4, 2019, from http://wwwsamran22.blogspot.com/2010/02/mnemonics.html