การทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักศึกษาไทยในพื้นที่ภาคใต้ Assessment of Health-Related Physical Fitness of Thai Students in Southern Thailand

Main Article Content

Yusob Damteh

Abstract

บทคัดย่อ


            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักศึกษาไทยในพื้นที่ภาคใต้และเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักศึกษาระหว่างคณะ กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยวิทยาเขตสงขลา จำนวน 508 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือทีใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพสำหรับบุคคลทั่วไปของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ปีพ.ศ. 2560 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ สถิติ One–Way ANOVA


            ผลการวิจัยพบว่า ด้านดัชนีมวลกายของนักศึกษาทั้งเพศชาย (ร้อยละ55.45) และเพศหญิง (ร้อยละ56.21) จัดอยู่ในเกณฑ์ระดับพอเหมาะ ด้านอัตราส่วนรอบเอว และสะโพกของนักศึกษาเพศชาย (ร้อยละ55.9) อยู่ในเกณฑ์ระดับต่ำกว่า และเพศหญิง (ร้อยละ48) อยู่ในเกณฑ์ระดับสูงกว่า ด้านความความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง และต้นขาด้านหลังของทั้งเพศชาย (ร้อยละ41.60) และเพศหญิง (ร้อยละ72.2) อยู่ในเกณฑ์ระดับต่ำกว่า ด้านความอ่อนตัวของกลุ่มกล้ามเนื้อแขนขวาทั้งเพศชาย (ร้อยละ76.7) และเพศหญิง (ร้อยละ71.9) อยู่ในเกณฑ์ระดับสูงกว่า ด้านความยืดหยุ่นของกลุ่มกล้ามเนื้อแขนซ้าย ทั้งเพศชาย (ร้อยละ71.8) และหญิง (ร้อยละ61.4) อยู่ในเกณฑ์ระดับสูงกว่า ด้านความอดทนของกล้ามเนื้อทั้งเพศชาย (ร้อยละ86.1) และหญิง (ร้อยละ62.7) อยู่ในเกณฑ์ระดับต่ำกว่า ด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อทั้งเพศชาย (ร้อยละ83.7) และหญิง (ร้อยละ97.1) อยู่ในเกณฑ์ระดับต่ำกว่า และพบว่าด้านระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจทั้งเพศชาย (ร้อยละ72.8) และหญิง (ร้อยละ76.1) อยู่ในเกณฑ์ระดับสูงกว่า ตามลำดับ การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักศึกษา พบว่านักศึกษาเพศชายในระหว่างคณะมีความแตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านอัตราส่วนรอบเอว/รอบสะโพกความอ่อนตัวของหลังส่วนล่างและต้นขาด้านหลัง ความยืดหยุ่นของกลุ่มกล้ามเนื้อแขนซ้ายและแขนขวาความอดทนของกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และผลของนักศึกษาเพศหญิงพบว่า สมรรถภาพทางกายด้านดัชนีมวลกาย อัตราส่วนรอบเอว/รอบสะโพก ความอ่อนตัวของหลังส่วนล่างและต้นขาด้านหลัง ความยืดหยุ่นของกลุ่มกล้ามเนื้อแขนซ้าย ความอดทนของกล้ามเนื้อ และความทนทานของระบบหัวใจไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ ของนักศึกษาเพศหญิงระหว่างคณะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


คำสำคัญ: การทดสอบสมรรถภาพทางกาย สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักศึกษา แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา


Abstract


            This research aimed to assess the southern Thai students’ Health Related Physical Fitness and compare the students’ Health Related Physical Fitness results among faculties at a Thai university. The research sample was 508 students at Rajamangala University of Technology Srivijaya, Songkhla Campus. The instrument used in collecting data was the Thai Health Promotion Foundation’s Physical Fitness Test. The descriptive statistics and one way ANOVA were used for data analysis. 


            The research findings showed the students’ body mass index of male students (55.45%) and female students (56.21%) were at the appropriate level. The male students’ waist/hip ratio (55.9%) was at the lower standard whereas female students’ ratio (48%) was at the higher standard. The flexibility of bottom back muscle and legs of both male students (41.60%) and female students (72.2%) were at the lower standard. The flexibility of the right arm muscle in male students (76.7%) and female students (71.9%) were at the higher standard. Also, the flexibility of the left arm muscle in male students (71.8%) and female students (61.4%) were at the higher standard. The abdominal muscle endurance in both male students (86.1%) and female students (62.7%) were at the lower standard. In terms of muscle strength, both male students (83.7%) and female students (97.1%) were at the lower standard accordingly. Additionally, the research found that the circulatory and respiratory systems in both male students (72.8%) and female students (76.1%) were at the higher standard. The research findings in comparing students’ Health Related Physical Fitness among faculties found that the waist/hip ratio, the flexibility of bottom back muscle and legs, the flexibility of the right and left arms muscle, the abdominal muscle endurance, the muscle strength, and the circulatory and respiratory systems of male students in five faculties were significantly different at .05. The results on students’ Health Related Physical Fitness among female students in five faculties found that there were significant differences at .05 


Keywords: Assessment of Health-Related Physical Fitness, Students’ Health- Related Physical Fitness, Physical fitness test, Thai students, Rajamangala University of Technology Srivijaya, Songkhla Campus

Article Details

Section
Research Articles