การเปรียบเทียบผลเฉียบพลันของการอบอุ่นร่างกายโดยใช้เทคนิค PAP ที่แตกต่างกันที่มีต่อความสามารถในการวิ่งระยะทาง 50 เมตร ของนักกีฬากรีฑาเยาวชนทีมชาติไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลเฉียบพลันของการอบอุ่นร่างกายโดยใช้เทคนิค PAP ที่แตกต่างกันที่มีต่อความสามารถในการวิ่งระยะทาง 50 เมตร ของนักกีฬากรีฑาเยาวชนทีมชาติไทย กลุ่มทดลองประกอบด้วยนักกีฬากรีฑาชายวิ่งระยะสั้นที่ผ่านการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ จำนวน 12 คน อายุระหว่าง 16-18 ปี เป็นการทดลองกลุ่มเดียว โดยการวัดผลจากการวิ่งระยะทาง 50 เมตร หลังจากการอบอุ่นร่างกายโดยใช้เทคนิค PAP แบบน้ำหนัก แบบพลัยโอเมตริก และแบบยางยืดและบันทึกผลการทดสอบวิ่งระยะทาง 50 เมตร ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล 5 สัปดาห์ ซึ่งโปรแกรมการอบอุ่นร่างกายโดยใช้ PAP ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน หลังจากสัปดาห์ที่ 5 ของการทดสอบวิ่งระยะทาง 50 เมตร นำผลการทดสอบมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มทดลองและหาค่าเฉลี่ยความเร็วในการวิ่งระยะทาง 50 เมตร วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างหลังการอบอุ่นร่างกายทั้ง 3 รูปแบบ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการวิ่งระยะทาง 50 เมตร หลังจากการอบอุ่นร่างกายโดยใช้เทคนิค PAP ทั้ง 3 รูปแบบ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 สรุปได้ว่า การอบอุ่นร่างกายโดยใช้เทคนิค PAP ที่แตกต่างกันมีผลต่อความสามารถในการวิ่งระยะทาง 50 เมตร ของนักกีฬากรีฑาเยาวชนทีมชาติไทย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์
References
สนธยา สีละมาด. (2555). หลักการฝึกกีฬาสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เจริญ กระบวนรัตน์. (2557). วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา. กรุงเทพฯ: สินธนาก๊อปปี้เซ็นเตอร์.
นิรอมลี มะกาเจ. 2555. เอกสารประกอบการสอนวิชา 0239526 การทดสอบทางสรีระวิทยาสำหรับนักกีฬา. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ดิสพล บุปผาชาติ. (2549). ผลของการอบอุ่นนร่างกาย 3 แบบที่มีต่อพลังของกล้ามเนื้อขา ความอบอุ่นตัว มุมในการเคลื่อนไหวและปฏิกิริยา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Yetter, M., and Moir, GL. ,. (2008). The acute effects of heavy back and front squats on speed during forty-meter sprint. Journal of Strength and Conditioning Research, 22(1), 159-165.
Rixon, K., Hss.,and Bemben,MG. (2007). Influence of type of muscle contraction, gender and lifting experience on post activation potentiation performance.