ผลของการออกกำลังกายแบบสถานีในรูปแบบห้องเรียนออนไลน์ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักเรียนชายวัยรุ่นอายุ 13 – 15 ปี Effect of Online Circuit Training Class on Health – Related Physical Fitness for Adolescence Male Students Aged 13-15 Years

Main Article Content

ปวรวรรณ แพนเกาะ

Abstract

บทคัดย่อ


          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายแบบสถานีในรูปแบบห้องเรียนออนไลน์ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักเรียนชายวัยรุ่นอายุ 13 – 15 ปี กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 45 คน ได้มาจากการอาสาสมัคร แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน กลุ่มออกกำลังกายรูปแบบห้องเรียนออนไลน์ (Online Exercise Class-OEC) กลุ่มออกกำลังกายด้วยตนเองที่บ้าน (At Home Exercise-AHE) และกลุ่มควบคุมที่ไม่ออกกำลังกาย (Non Exercise Control-NEC) ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ คือ วิดีโอการออกกำลังกายแบบสถานี แบบสะท้อนความคิดเห็นต่อการออกกำลังกายออนไลน์ และแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและทดสอบความแตกต่างก่อนและหลังการทดลองด้วยสถิติ Wilcoxon signed rank test ทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Kruskal-wallis test และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีของบอนเฟอโรนี (Bonferroni)


          (1) ผลการวิจัยหลังการทดลอง พบว่า กลุ่ม OEC มีพัฒนาการดีขึ้นในรายการทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ ได้แก่ ด้านความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ ด้านความแข็งแรงและอดทนของกล้ามเนื้อหน้าท้อง และด้านความแข็งแรงและอดทนของกล้ามเนื้อหน้าอกและหัวไหล่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 กลุ่ม AHE พบว่า สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพทุกรายการทดสอบ พบว่า ไม่แตกต่างกัน และกลุ่ม NEC พบว่า มีพัฒนาการที่ลดลงในรายการทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ ได้แก่ ด้านองค์ประกอบของร่างกาย ความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ และความอ่อนตัว  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (2) ผลการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่า ด้านความความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยการวิเคราะห์รายคู่ระหว่างกลุ่ม พบว่า OEC และ กลุ่ม NEC มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05  แต่ระหว่างกลุ่ม AHE และกลุ่ม NEC ไม่แตกต่างกัน


คำสำคัญ: การออกกำลังกายแบบสถานี, รูปแบบห้องเรียนออนไลน์, สมรรถภาพทางกายสัมพันธ์กับสุขภาพ


Abstract


          This exploratory research is intended to comparative analysis of Online Circuit Training Class on Health - Related to the Physical Fitness for Adolescence, Male Students Aged 13 - 15 Years from 45 volunteers. In terms of context and method, the researcher divided into three categories: Online Exercise Class-(OEC) group, At Home Exercise-(AHE) group, and Non-Exercise Control group–(NEC) group. This research experiments for 3 days a week and in terms of 8 weeks. The tool in this research was online circuit training class video, Reflection form on the online exercise of circuit training program and A health-related physical fitness test. Find the quality of the tool from 5 experts and data were analyzed by statistical Wilcoxon signed-rank test before and after training. Analysis of variance with statistics Kruskal-Wallis test and pair analysis using the Bonferroni method of all three groups.


          (1) The results after the experiment were OEC group improved development on health-related physical fitness test: circulatory and respiratory endurance, the strength and endurance of the abdominal muscles, and the strength and endurance of the chest and shoulder muscles was a significant difference at the .05 level. The AHE group was not different on health-related physical fitness test. And NEC group decreased on health-related physical fitness test: body composition, circulatory and respiratory endurance, and flexibility was a significant difference (p≤.05). (2) The results were compared between group were circulatory and respiratory endurance It was found that there was a significant difference at the .05 level. Pair analysis were OEC group and NEC group there was a significant difference at the .05 level, but there was no difference between AHE group and NEC group.


Keywords:  Circuit Training, Health – Related Physical Fitness, Online Exercise Class

Article Details

Section
Research Articles