ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงอาชีพในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงอาชีพในประเทศไทย โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงอาชีพในประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) มีผู้ให้สัมภาษณ์จำนวน 8 คน และนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยแบบสอบถาม ดำเนินการเก็บแบบสอบถามกับนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงอาชีพในประเทศไทยที่เข้าร่วมรายการแข่งขันวอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีก ในฤดูกาล 2019-2020 จำนวน 122 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Correlation coefficient of Pearson) และค่าสัมประสิทธิ์สมการถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงอาชีพในประเทศไทย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.07) โดยกลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยสูงที่สุดในด้านการสนับสนุนจากครอบครัว (X̅ = 4.56) รองลงมาคือด้านความพยายาม (X̅ = 4.44) และด้านการสนับสนุนจากโค้ช/ผู้จัดการทีม (X̅ = 4.29) ตามลำดับ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงอาชีพในประเทศไทย อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากสโมสรวอลเลย์บอล, ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากโค้ช/ผู้จัดการทีม, ปัจจัยด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา, ปัจจัยด้านนโยบายส่งเสริมกีฬา และปัจจัยด้านการสนับสนุนจากครอบครัว ตามลำดับ และมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยด้านความพยายาม, ปัจจัยด้านความประทับใจเชิงบวก ตามลำดับ การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณที่ส่งผลต่อความสำเร็จของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงอาชีพในประเทศไทยมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายร้อยละ 79 มากที่สุดคือ ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากสโมสรวอลเลย์บอล (X6) ด้านนโยบายส่งเสริมกีฬา (X8) และด้านการสนับสนุนจากโค้ช/ผู้จัดการทีม (X4) สามารถสร้างเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Yˆ= 0.27 + 0.32(X6) + 0.27(X8) + 0.34(X4)
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Zˆ = 0.44(X6) + 0.30(X8) + 0.33(X4)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์
References
การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2560). แผนพัฒนากีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2560 - 2564). สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2563. สืบค้นจาก: http://www.sat.or.th/.
การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2560). แผนยุทธศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย 2560-2564. กรุงเทพฯ.
ณัฐกานต์ อยู่เกตุ. (2563). ปัจจัยที่ส่งเสริมความเป็นเลิศของนักกีฬาเปตองทีมชาติไทย. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ. 46(2). 261-269.
สมทบ ฐิตะฐาน. (2560). การจัดการกีฬาอาชีพ. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2563. สืบค้นจาก: http://www.smat.or.th/view/5b6bc24446d46a0f7fe45dc6.
สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2556). พระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ (2556). สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2563. สืบค้นจาก http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%CA86/%CA86-20-2556-a0001.pdf.
อภิวัฒน์ ปานทอง, อริญชย์ พรหมเทพ, นพรักษ์ แกสมาน, วีรวัฒน์ คำแสนพันธ์ และจีรวัฒน์ สัทธรรม. (2560). การวางแผนระยะยาวสำหรับพัฒนานักกีฬา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 14(64). 15-22.
อานนท์ เหมือนทัพ และวรเดช จันทรศร. (2560). การพัฒนาสู่ความสำเร็จของนักกีฬากอล์ฟสตรีอาชีพไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 22(3). 194-204.