ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร กับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง Relationship between Media Exposure and Knowledge, Attitudes, and Obesity Prevention Behaviors of Ramkhamhaeng University Students

Main Article Content

ศิริวรรณ ชอบธรรมสกุล

Abstract

บทคัดย่อ


              การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร กับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 375 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบทดสอบ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วน เท่ากับ 0.91, 0.84, 0.88 ตามลำดับ และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคอ้วน เคอาร์-20 เท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


ผลการวิจัย พบว่า 1) การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันโรคอ้วนของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคอ้วนของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ในภาพรวมอยู่ในระดับดี 3) ทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคอ้วนของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 4) พฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ 5) การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันโรคอ้วน มีความสัมพันธ์ต่ำทางบวกกับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคอ้วน และมีความสัมพันธ์สูงทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


 คำสำคัญ: การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม การป้องกันโรคอ้วน


Abstract


This research aims to 1) study media exposure, knowledge, attitudes, and obesity prevention behaviors of Ramkhamhaeng University students and 2) study the relationship between media exposure, knowledge, attitudes, and obesity prevention behaviors of Ramkhamhaeng University students. The sample group were 375 students from the Faculty of Education, Ramkhamhaeng University. They were chosen using the stratified sampling method. The research instruments included questionnaires and tests. The reliability values of questionnaires about media exposure, attitudes, and obesity prevention behaviors were 0.91, 0.84, and 0.88, respectively. The reliability values of  the   obesity prevention knowledge test KR-20 was 0.82. The data were analyzed using mean scores, standard deviation, and the Pearson Product Moment Correlation Coefficient.


The results showed that the 1) overall obesity prevention-related media exposure of Ramkhamhaeng University students was at moderate level, 2) overall obesity prevention-related knowledge of Ramkhamhaeng University students was at good level, 3) overall obesity prevention-related attitudes were at moderate level, 4) overall obesity prevention behaviors of Ramkhamhaeng University students were  at moderate level, and 5) obesity prevention-related media exposure had a low positive relationship with obesity prevention-related knowledge and a high positive relationship with obesity prevention behaviors with the statistical significance level of .05.


 Keywords: Media Exposure, Knowledge, Attitudes, Behaviors, Obesity Prevention

Article Details

Section
Research Articles