รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในเขตพัฒนาพิเศษภาคภาคตะวันออก Causal Relationship Model of Sports Tourism Management In the Eastern Special Development Zone

Main Article Content

กมลมาลย์ พลโยธา

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุที่มีต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้อยู่อาศัยในจังหวัดเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 340 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้น โดยใช้การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วยโปรแกรม LISREL


            ผลการวิจัยปรากฎว่า รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่พัฒนาขึ้น เมื่อวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแฝง พบว่า หลักการบริหารจัดการมีอิทธิพลต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬา โดยมีค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ .65 นอกจากนี้ยังมีอิทธิพลต่อผลกระทบจากการท่องเที่ยวเชิงกีฬา เท่ากับ .48 และการสื่อสารการตลาดบูรณาการผ่านสื่อดิจิทัล  เท่ากับ .45 ตามลำดับ ส่วนผลกระทบจากการท่องเที่ยวเชิงกีฬามีอิทธิพลต่อตัวแปรการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬา มีค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ .49 การสื่อสารการตลาดบูรณาการผ่านสื่อดิจิทัล มีอิทธิพลต่อตัวแปรการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬา มีค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ .37 โดยมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี (ค่าไคสแควร์ เท่ากับ .08  ค่า df  เท่ากับ 1 ค่า p เท่ากับ 0.78 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.00 ดัชนี CFI เท่ากับ 1.00 ดัชนี GFI เท่ากับ 1.00 และค่า SRMR เท่ากับ 0.08 และc2/ df มีค่าน้อยกว่า .08)


คำสำคัญ: การท่องเที่ยวเชิงกีฬา, การจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬา, เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก


Abstract   


           The purpose of this research was to study causal relationships and verify the consistency of causal models towards sports tourism management in the Eastern Special Development Zone. The sample consisted of 340 people living in the Eastern Special Development Zone. The tool used is a developed questionnaire using structural equation analysis (SEM) with the LISREL program.


            The results were as follows:


            Sports tourism management model in the Eastern Special Development Zone. When analyzing the path, the relationship between latent variables found that Management principles influence sports tourism management with a total influence of .65. In addition, the influence of sports tourism was at .48 and digitally integrated marketing communication was at. 45, respectively. As for the impact of sports tourism influencing management variables, it has a total influence of .49. Digitally integrated marketing communication has a total influence of.37 with statistical significance on sports tourism management variables at the level of .01. When considering the consistency with empirical data at a good level (chi-square value is .08 df value is 1, p value is .78, RMSEA is 0.00, CFI index is 1.00, GFI index is 1.00 and the SRMR value is 0.01 and c2/ df is less than .08)


Keywords: Sports Tourism, Sports Tourism Management, Eastern Special Development Zone

Article Details

Section
Research Articles