การสร้างเกณฑ์การประเมินทักษะกีฬาฟุตซอลสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 Rubric Construction of Futsal Skills for Student Grade 12 of Prataungtipwittaya School

Main Article Content

ณัฐนนท์ ใจแก้ว

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเกณฑ์การประเมินทักษะกีฬาฟุตซอลสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประเทืองทิพย์วิทยา เกณฑ์การประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วย 1) ทักษะการรับ 2) ทักษะการส่ง 3) ทักษะการเลี้ยง 4) ทักษะการยิง 5) การเล่นเกมรุก 6) การเล่นเกมรับ 7) การเล่นทีม หาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยผ่านการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ตามวิธีของ Rovinelli and Hambleton และหาค่าความเชื่อถือได้ (reliability) ด้วยวิธีการประเมิน 2 ครั้งโดยนำผลของการประเมินครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 มาหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ โดยเว้นระยะห่างกัน 1 สัปดาห์ กับกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชายและนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประเทืองทิพย์วิทยา รวม 30 คน เป็นชาย 15 คน หญิง 15 คนจาก 5 ห้องเรียนนำผลของการประเมินครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ด้วยการบันทึกภาพวิดีโอมาหาค่าความเชื่อถือได้โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson product-moment correlation coefficient)


            ผลการวิจัยพบว่า 1) เกณฑ์การประเมินทักษะกีฬาฟุตซอลสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประเทืองทิพย์วิทยา มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 2) ค่าความเชื่อถือได้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเกณฑ์การประเมินทักษะกีฬาฟุตซอล 7 รายการ 1) การรับ 2) การส่ง 3) การเลี้ยง 4) การยิงประตู 5) การเล่นเกมรุก 6) การเล่นเกมรับ 7 ) การเล่นทีม ได้เท่ากับ .81 .94 .90 .95 1 1 และ 1 ตามลำดับ สรุปได้ว่า เกณฑ์การประเมินทักษะกีฬาฟุตซอลสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 6 โรงเรียนประเทืองทิพย์วิทยาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นนี้ สามารถนำไปใช้ประเมินทักษะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้


คำสำคัญ :  เกณฑ์การประเมิน ทักษะกีฬาฟุตซอล ประเทืองทิพย์วิทยา


Abstract


            The purpose of this research was to rubric construction of futsal skills for students grade 12 of Prataungtipwittaya school. The research instruments were: 1)Receiving skills 2) Passing skills 3) Dribbling skills  4) Shooting skills 5) Playing attack games 6) Playing defence games, and  7) Playing the team. The index of consistency of Rovinelli and Hamberton  was judged by 5 experts for the content validity. Test-retest method was used to determine reliability coefficients by 15 male and 15 female students within one week interval.


            The results were as follows: 1) Scoring rubric of futsal skills for student grade 12 of Prataungtipwittaya school possessed content validity. 2) The reliability coefficient of 
 receiving skills, passing skills, dribbling skills, shooting skills, playing games, playing the games, and playing the team were 0.81 .94 0.90 0.95 1 1 and 1 respectively. It was concluded that scoring rubric of futsal skills possessed a satisfactory application for students grade 12 of Prataungtipwittaya school.


Keywords: Scorin Rubric, Skills Futsal, Prataungtipwittay  

Article Details

Section
Research Articles