การวิเคราะห์ความเที่ยงตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการทำกิจกรรมทางกายของนักศึกษามหาวิทยาลัย Validation and Invariance Analysis of Causal Model Among Physical Activity In University Students

Main Article Content

กิตติมา เทียบพุฒ

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ตรวจสอบความเที่ยงตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกาย 2) วิเคราะห์หาขนาดอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมระหว่างตัวแปรภายในโมเดล  กลุ่มประชากร คือ นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาตรี สังกัดมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเขตภาคใต้ จำนวน 13 มหาวิทยาลัย จำนวนทั้งหมด 120,028 คน   กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาในมหาวิทยาลัย จำนวน 400 คน (เพศชาย 188 คน และเพศหญิง 212 คน) ได้จากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสอบถามมี 6 ฉบับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์สมการโครงสร้างเชิงเส้น


            ผลการวิจัยพบว่า  1) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับดี (Chi-Square = 151.94, df = 109, RMSEA = 0.03, SRMR = 0.03, NNFI = 0.99, CFI = 0.99, AGFI = 0.94)  2) การรับรู้ความสามารถการเรียนรู้ทางกาย (PPL) และทัศนคติต่อกิจกรรมทางกาย (APA) ส่งอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกาย (BPA) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.82 และ 0.12 ตามลำดับ ส่วนการสนับสนุนทางสังคม (SS) กับสิ่งแวดล้อมบริเวณรอบตัว (NS) ส่งอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกาย (BPA) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.57 และ 0.34 ตามลำดับ  นอกจากนี้ยังพบว่าตัวแปรทั้งหมดร่วมกันอธิบายความแปรปรวนพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายของนักศึกษาได้ร้อยละ 76 


            สรุปผล โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง โมเดลสามารถนำไปใช้กับการส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยได้


คำสำคัญ : ความเที่ยงตรงของโมเดลเชิงสาเหตุ กิจกรรมทางกาย นักศึกษามหาวิทยาลัย


Abstract


            The purpose of research was to analyze the validation of causal relationship model of physical activity in university students. The objectives of the study were to 1) validate of the structural causal relationship of model. 2) analyze the direct and indirect influence and the total influence between variables within the model.  The population is 120,028 undergraduate students from 13 universities in the southern region. Participants were 400 students (188 male and 212 female) aged between 18-25 years old, selected by multi-stage random sampling method. Six questionnaires were used as test instruments.  Structural Equation Modeling (SEM) were used to analyze the primary data, validate of the model and test the invariance of the model.


 Results reveal that;


            1. Structural causal relationship model of physical activity behaviors was that the model corresponds good fit to the empirical data (Chi-Square = 151.94, df = 109, RMSEA = 0.03, SRMR = 0.03, NNFI = 0.99, CFI = 0.99, AGFI = 0.94).


            2. The causal relationship based on the physical literacy and attitude toward physical activity directly influences physical activity behavior with statistically significant at .01. The effect sizes were 0.82 and 0.12 respectively. Social support for physical activity behaviors and the neighborhood indirectly influences physical activity behavior was 0.57 and 0.34 respectively with statistically significant at .01.All variables accounted for 76% of variance in physical activity.


            In conclusion, structural causal relationship model of physical activity in university students are accurate. Model can be applied to promote physical activity behavior of university students.


Keywords: Validate of the structural causal relationship of model, Physical activity,


                     University Students

Article Details

Section
Research Articles