ประสิทธิผลการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรม การป้องกันตนเองจากควันบุหรี่มือสองในวัยรุ่น The Effectiveness of an Application of Health Belief Model to Promote Self Prevention Secondhand Smoke in Teenage

Main Article Content

ชาลินี กิจชัยเจริญพร

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยเรื่องประสิทธิผลการประยุกต์ทฤษฎีความเชื่อทางด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากควันบุหรี่มือสองในวัยรุ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการประยุกต์ทฤษฎีความเชื่อทางด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากควันบุหรี่มือสองในวัยรุ่น ทำการศึกษาวิจัยเชิงกึ่งทดลองกับวัยรุ่นตอนกลางที่มีอายุระหว่าง 14–17 ปี จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 40 คน และกลุ่มควบคุม 40 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีความเชื่อทางด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากควันบุหรี่มือสองในวัยรุ่น ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมการรับรู้โอกาสเสี่ยงในการรับสัมผัสควันบุหรี่มือสอง กิจกรรมการรับรู้ความรุนแรงต่อการรับสัมผัสควันบุหรี่มือสอง กิจกรรมการรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันการรับสัมผัสควันบุหรี่มือสอง กิจกรรมการรับรู้อุปสรรคในการป้องกันการรับสัมผัสควันบุหรี่มือสอง กิจกรรมด้านความเชื่อมั่นในตนเองและทักษะปฏิบัติในการป้องกันการรับสัมผัสควันบุหรี่มือสอง กิจกรรมชักนำสู่การปฏิบัติในการป้องกันการรับสัมผัสควันบุหรี่มือสอง เวลา 7 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมไม่ได้จัดกิจกรรม เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม ค่าความเที่ยงหรือค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของแบบสอบถามเท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติอนุมาน สถิติ Independent t-test สถิติ Paired t-test วิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม ANCOVA


            ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีข้อมูลทั่วไปไม่แตกต่างกัน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ได้รับสัมผัสควันบุหรี่มือสอง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 16 ปี กลุ่มทดลองรับสัมผัสควันบุหรี่มือสองมากที่สุด คือ สวนสาธารณะ/สถานที่ท่องเที่ยว รองลงมาคือ ร้านอาหาร และโรงเรียน กลุ่มควบคุมได้รับสัมผัสควันบุหรี่มือสองมากที่สุด คือ สวนสาธารณะ/สถานที่ท่องเที่ยว รองลงมาคือ บ้าน และโรงเรียน มีความถี่ในการรับสัมผัสควันบุหรี่มือสอง 1 – 2 ครั้งต่อวัน และ 1 – 2 วันต่อสัปดาห์ หลังจากการทดลองใช้โปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีความเชื่อทางด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากควันบุหรี่มือสองในวัยรุ่น กลุ่มทดลองมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงการรับสัมผัสควันบุหรี่มือสอง การรับรู้ความรุนแรงจากการรับสัมผัสควันบุหรี่มือสอง การรับรู้ประโยชน์จากป้องกันการรับสัมผัสควันบุหรี่มือสอง การรับรู้อุปสรรคการป้องกันการรับสัมผัสควันบุหรี่มือสอง การรับรู้สิ่งชักนำสู่การปฏิบัติการป้องกันการรับสัมผัสควันบุหรี่มือสอง ความเชื่อมั่นในความสามารถการปฏิบัติการป้องกันการรับสัมผัสควันบุหรี่มือสอง พฤติกรรมการปฏิบัติการป้องกันการรับสัมผัสควันบุหรี่มือสอง แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีความเชื่อทางด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากควันบุหรี่มือสองในวัยรุ่น มีประสิทธิผลในการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากควันบุหรี่มือสองในวัยรุ่น


คำสำคัญ :  พฤติกรรมการป้องกันการรับสัมผัสควันบุหรี่มือสอง  พฤติกรรมการป้องกันตนเอง แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ 


                   ควันบุหรี่มือสอง  


Abstract  


            Research on the efficiency health belief theory applying to support the self-protection from the secondhand smoke among the teenagers aimed to study on the efficiency of health belief theory supporting on self-protection from the secondhand smoke among the teenagers. The research was conducted in form of Quasi-experiment with 80 of post teenagers aged between 14–17 years old, divided into 40 in testing sample group and 40 in control sample group. The Experimental group was the group that received the health belief applied program to promote for the self-protection behavior from the secondhand smoke in teenagers. It consisted of six activities, Perceived susceptibility from exposure to secondhand smoke activity, Perceived severity from the exposure to secondhand smoke activity, Perceived benefit from protection of exposure to secondhand smoke activity, Perceived barriers from protection exposure to secondhand smoke activity, Cues to Action from protection of exposure to secondhand smoke activity for seven weeks. The control group, there was no activity held. The data collection tools are pre and post questionnaires to the program participation. Research instrument by questionnaire which content validity was using Cronbach, s alpha coefficient was 0.83. Data analysis was done using Descriptive statistics such as average, percentage, and standard deviation as well as inferential statistics and ANCOVA. The outcome of the study could be concluded as follows: Both


            Prior to applying the program, both to groups either testing group or control group showed no difference since both groups had exposed to the secondhand smoke. Most in both groups were female aged around 16 years old who exposed to the secondhand smoke from the Public Park and tourist attraction at most. However, in the second follow testing group was from restaurant while the control group was from home and most of them exposed to it via general people, second by cousins.  The average of secondhand smoke exposure was 1 – 2 times/day and 1 – 2 days per week.  After using the health belief theory applying to support the self-protection from secondhand smoke among teenagers, the testing group found to perceive on the chances of Perceived susceptibility from exposure to secondhand smoke, Perceived severity from the exposure to secondhand smoke , Perceived benefit from protection of exposure to secondhand smoke , Perceived barriers from protection exposure to secondhand smoke , Cues to action from protection of exposure to secondhand smoke . The result of an Application of Health belief model to Promote Self Prevention Secondhand smoke in Teenage were presented with the statistical significance differences of .05. If comparing to the control group, The program to support for the self-protection from secondhand smoke among teenagers had efficiency to promote on self-protection from secondhand smoke among teenagers.


Keywords:  Promote Self-Prevention Secondhand smoke, Self-Prevention, Health Belief Model ,


                      Secondhand smoke

Article Details

Section
Research Articles