พฤติกรรมและอุปสรรคในการออกกำลังกายของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย Behavior and Barrier in exercise of Junior High School Students Princess Chulabhorn’s College

Main Article Content

อรรถพล ชูท้วม

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและอุปสรรคในการออกกำลังกายของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มประชากรเป็นนักนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จำนวน 3,439 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 1,152 คน เป็นนักเรียนชาย 576 คน นักเรียนหญิง 576 คน เครื่องมือที่ใช้ เครื่องในการวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปกับพฤติกรรมการออกกำลังกายและอุปสรรคในการออกกำลังกาย แบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ 1) พฤติกรรมการออกกำลังกาย ได้แก่ พฤติกรรมที่แสดงถึงความบ่อย ความหนัก ในการออกกำลังกาย เวลาที่ใช้ในการออกกำลังกาย และรูปแบบที่ใช้ในการออกกำลังกาย 2) ด้านอุปสรรคในการออกกำลังกาย ได้แก่ ความคาดคิดว่าไม่มีเวลา ไม่มีแรงเหนื่อย ไม่มีแรงจูงใจ มีปัญหาสุขภาพ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการออกกำลังกาย เป็นต้น แบบสอบถามมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยผ่านการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ตามวิธีของ Rovinelli และ Hambleton หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ความเชื่อมั่น ด้วยวิธีการของ Cronbach ได้ค่าเท่ากับ .87 ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแจกแบบสอบถาม จำนวน 1,152 ฉบับ ได้รับแบบสอบถาม คืนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ และค่าร้อยละ


            ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนชายและนักเรียนหญิงออกกำลังกายประเภทแอโรบิก ส่วนใหญ่ออกกำลังกายที่ระดับความเหนื่อยปานกลาง สัปดาห์ละ 1-2 วันต่อสัปดาห์ โดยแต่ละครั้งนักเรียนชายและนักเรียนหญิงใช้เวลา 20-40 นาที และใช้รูปแบบการจ๊อกกิ้ง 2) นักเรียนชายและนักเรียนหญิงออกกำลังกายประเภทสร้างเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ส่วนใหญ่ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 1-2 วัน/สัปดาห์ เวลาในการออกกำลังกาย 20-40 นาที และส่วนใหญ่ใช้แรงต้านระดับปานกลาง แต่ไม่ได้กำหนด จำนวนครั้งต่อเซต และจำนวนเซต 3) นักเรียนชายและนักเรียนหญิงออกกำลังกายประเภทสร้างเสริมความอ่อนตัวส่วนใหญ่ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 1-2 วันต่อสัปดาห์ เวลา 10-15 วินาที ในการเหยียดยืดกล้ามเนื้อนักเรียนส่วนใหญ่เพิ่มระยะของการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อเล็กน้อยและใช้รูปแบบการเหยียดยืดกล้ามเนื้อสร้างเสริมความอ่อนตัว4) นักเรียนชายและนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาปีที่ 1, 2, 3 ส่วนใหญ่มีอุปสรรคในการออกกำลังกายอยู่ในระดับเห็นด้วย ส่วนใหญ่คือ ตารางเวลาไม่เอื้ออำนวย


คำสำคัญ : พฤติกรรม อุปสรรค การออกกำลังกาย  


Abstract   


            The purpose of this research was to study the Exercise behaviors and barriers to of exercise of junior high school students at Chulabhorn College school. The population were 3,439 students The samples were 1,152 students, 576 male students and 576 female students, by using stratified random sampling from 12 Princess Chulabhorn’s College schools.  The behavior and barriers in exercise questionnaire developed by the researcher.  The content validity of the questionnaire was judged by 5 experts followed the Rovinelli and Hambelton’s method. 30 samples completed the questionnaire and test the reliability by using Cronbach’s alpha coefficient. The 1,152 questionnaires were distributed, and 100 percent of the questionnaires were completed and returned. Data were analyzed by using frequency and percentage


            The results showed: 1) Most male and female students performed cardiorespiratory exercise at moderate intensity level, 1-2 days per week, and 20-40 minutes each time by jogging and walking.  2) Most male and female students performed muscular strength exercises 1-2 days per week, 20-40 minutes per time, and used moderate resistance but did not define number of repetitions per set and number of sets. 3) Male and female students, who performed flexibility exercise 1-2 days a week, 10-15 seconds per exercise, each exercise increase a small range of motion, by stretching exercises.  4) Most male and female students in matthayom 1, 2, and 3 perceived the barriers in exercise statement that “a busy schedule” in the “agree level”.


Keywords: Behavior, Barrier, Exercise

Article Details

Section
Research Articles