ประสิทธิผลการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคต่อการรับรู้และความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส The Effectiveness of an Application of Protection Motivation Theory to Promote Perceived and Self-Efficacy among Older Elderly People for Fall Prevention at Takbai District, Narathiwat Province

Main Article Content

นัทฐิณี บุญช่วย

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคต่อการรับรู้และความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ทำการศึกษาวิจัยเชิงกึ่งทดลองกับผู้สูงอายุ จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน  กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคต่อการรับรู้และความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ ซึ่งประกอบไปด้วย 4 กิจกรรม ระยะเวลา 3 สัปดาห์ ได้แก่ สัปดาห์ที่ 1 มี กิจกรรมการส่งเสริมการรับรู้ความเสี่ยงและความรุนแรงต่อการหกล้มโดยการบรรยายผ่านคู่มือการป้องกันการหกล้ม ระยะเวลา 60 นาที กิจกรรมส่งเสริมความคาดหวังในผลลัพธ์ต่อการป้องกันการหกล้มโดยการบรรยายผ่านคู่มือการป้องกันการหกล้มและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้จากตัวต้นแบบ ระยะเวลา 60 นาที กิจกรรมส่งเสริมทักษะสร้างความเชื่อมั่นของตนเองในการป้องกันการหกล้มโดยการสาธิตวิธีการปฏิบัติตัวภายหลังการรับประทานยา การปรับเปลี่ยนอิริยาบถ การออกกำลังกายเพื่อป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ การจัดการสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน และการเลือกร้องเท้า ระยะเวลา 180 นาที สัปดาห์ที่ 2-3 กิจกรรมกระตุ้นเตือนให้เกิดความคาดหวังในผลลัพธ์และความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองต่อการป้องกันการหกล้มโดยการออกเยี่ยมบ้านและติดต่อผ่านทางโทรศัพท์ระยะเวลา 2 สัปดาห์ๆละ 2 ครั้ง  ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้จัดกิจกรรมใดๆ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จำนวน 6 ส่วน ประกอบไปด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามเกี่ยวกับประวัติการหกล้ม แบบสอบถามการรับรู้ความเสี่ยงต่อการหกล้ม แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของการหกล้ม แบบสอบถามความคาดหวังในผลลัพธ์ต่อการป้องกันการหกล้ม แบบสอบถามความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองต่อการป้องการหกล้ม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ นำมาหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .56  .65  .86 และ .88 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA)


            ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ภายหลังจากการทดลองใช้การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคต่อการรับรู้และความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ กลุ่มทดลองการรับรู้ความเสี่ยงต่อการหกล้ม การรับรู้ความรุนแรงของการหกล้ม ความคาดหวังในผลลัพธ์ต่อการป้องกันการหกล้ม และมีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองต่อการป้องกันการหกล้ม แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม แสดงให้เห็นว่าการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคต่อการรับรู้และความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ มีประสิทธิผลในการส่งเสริมการรับรู้และความเชื่อมั่นของผู้สูงอายุในการป้องกันการหกล้มได้


คำสำคัญ :  ประสิทธิผล, การป้องการหกล้ม, ผู้สูงอายุ     


Abstract   


            The purpose of this research was to investigate the effectiveness of an application of protection motivation theory to promote perceived and self-efficacy among elderly people for fall prevention at Takbai district, Narathiwat province.  A quasi-experimental study was conducted on 60 elders,divided into the experimental group of the 30 people and the control group of the 30 people. By multi-stage sampling method, The instruments used in the experiment an application of protection motivation theory to promote perceived and self-Efficacy among elderly people for fall prevention. The research  was 4 activities in 3 week. Activities for the first week, promotes perceived risk and severity of a fall, which takes 60 minutes according to the fall prevention handbook, promotes response efficacy of the fall, which takes 60 minutes according to the fall prevention handbook, and learning from the role model and promotes self-efficacy of a fall, which takes 180 minutes showing how to act after taking the medicine, changes in posture, exercises for the elderly to avoid falling, management of the home environment and the selection of shoes. Second and third week activities, house visits and phone contact twice a week for two weeks to stimulating activities to respond efficacy and self-efficacy of a fall. The instrument used for data collection was a questionnaire consisting of general questionnaire, falls history questionnaire, questionnaire on fall risk perception, questionnaire on fall severity perception, questionnaire on response effectiveness in the fall and questionnaire on self-efficacy in the fall, The rating scale has three levels, and the reliability of the value questionnaire is equal to .56 .65 .86, and .88. Datas were analyzed by descriptive statistics, frequency, percentage, standard deviation. And inferential statistics with analysis of covariance (ANCOVA).


            The results of this study indicate that after the effectiveness of an application of protection motivation theory to promote perceived and self-efficacy among elderly people for fall prevention. Experimental group had a lower risk of falls in the elderly. Perception of the severity of falls in the elderly. Expected outcomes in elderly fall prevention and confidence in the ability to prevent falls of the elderly is higher than the control group. Statistically significant at the .05 level.


Keywords:  Effectiveness, Fall Prevention, Elderly People

Article Details

Section
Research Articles