สภาพการประเมินผลการเรียนรู้วิชาพลศึกษาของโรงเรียนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Status of Physical Education Learning Assessments in Schools of SuphanBuri Province

Main Article Content

สุมินตรา สุกาวาสน์

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการประเมินผลวิชาพลศึกษาของโรงเรียนในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่านพิจารณา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ไปยังครูผู้สอนวิชาพลศึกษา จำนวน 435 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนและมีความสมบูรณ์ จำนวน 368 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 84.60 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยการหาค่าร้อยละ และฐานนิยม


            ผลการวิจัยพบว่า ครูผู้สอนวิชาพลศึกษา ส่วนใหญ่จบวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีครูผู้สอนวิชาพลศึกษาจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้จบสาขาวิชาพลศึกษา ภาระงานสอนสำหรับครูผู้สอนพลศึกษาในโรงเรียนประถม ศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา และโรงเรียนขยายโอกาส คือ 17,12, และ12 ชั่วโมง/สัปดาห์ ตามลำดับ แนวทางที่ใช้ในการดำเนินการวัดและประเมินผลวิชาพลศึกษา ครูผู้สอนวิชาพลศึกษา ส่วนใหญ่ศึกษาจากแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนตามแนวปฏิรูปการศึกษา จุดประสงค์ของพลศึกษา และมาตรา 6 ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553 ครูผู้สอนวิชาพลศึกษาของโรงเรียนในจังหวัดสุพรรณบุรี ตัดสินระดับคะแนนแบบอิงเกณฑ์และอิงกลุ่มควบคู่กัน องค์ประกอบในการตัดสินระดับคะแนน ประกอบด้วยความรู้ ทักษะทางกีฬา  คุณธรรมจริยธรรม สมรรถภาพทางกาย  และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สัดส่วนการให้คะแนนเท่ากับ 20, 40, 10, 20 และ 10 คะแนนตามลำดับในโรงเรียนประถมศึกษา ส่วนโรงเรียนมัธยมศึกษาให้คะแนนเท่ากับ 20, 20, 20, 20 และ 20 คะแนน ในโรงเรียน ในขณะที่โรงเรียนขยายโอกาสให้คะแนน 20, 40, 10, 20 และ 10 คะแนน ตามลำดับ ประเมินความรู้ด้วยข้อสอบปรนัย ประเมินทักษะทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ครูผู้สอนสร้างขึ้นเอง ทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพและทดสอบสมรรถภาพทางกลไก โรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาและโรงเรียนขยายโอกาสใช้แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายและเกณฑ์มาตรฐานที่สัมพันธ์กับสุขภาพของ เด็กไทย อายุ 7-18 ปี วัดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้วยแบบทดสอบมาตรฐาน ส่วนการวัดด้านด้านคุณธรรมจริยธรรมใช้แบบทดสอบมาตรฐาน


คำสำคัญ: การประเมินผล วิชาพลศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี


Abstract


The purpose of this research was to study the status of physical education learning assessment in schools of Subhan Buri Province according to Basic Education Core Curriculum A.D. 2008.  A questionnaire was developed by the researcher.  Content validity was judged by 5 experts. The document was mailed to 435 physical education teachers. Three hundred and sixty-eight respondents (84.60%) were completed and returned.  Data were analyzed by using percentage, and mode.


            The results showed that most physical education teachers got bachelor degree in physical education. There were some physical education teachers did not get a degree in physical education. Teaching load for elementary school teachers, secondary school teachers, and school education expansion were 17, 12 and 12 hours per week. Most physical education teachers studied the guidelines for test and measurement procedure according to Basic Education Core Curriculum A.D. 2008, objectives of physical education, and section six of the National Education Act B.E.2542 (1999), and Amendments (Second National Education Act .B.E. 2545(2002) and Third National Education Act .B.E. 2553 (2010). Grading system was criterion-and norm referenced standards. Grades in physical education were based on sport  knowledge, sport skills, morality and ethics, physical fitness, and desirable feature of elementary school were 20, 40, 10, 20, 10 respectively, 20, 20, 20, 20, 20 for secondary school, and 20, 40, 10, 20, 10 for school education expansion respectively. Knowledge assessment used objective Using quantitative and qualitative measurement, that were teacher-made tests, to assess sport skills. Health–Related Physical Fitness Test and Norms for Thai Children Aged 7-18 Years was used to assess physical fitness of elementary school, and secondary school. As elementary and secondary school used International Committee for the Standardization of Physical Fitness Test, but the school education expansion used Sports Authority of Thailand Simplified Physical Fitness Test (SATST). Desirable feature was measured by desired characteristics form, but using scale of moral and ethics to measure morality and ethics.


Keywords: Assessments, Physical Education, Suphanburi Province 

Article Details

Section
Research Articles