ผลการออกกำลังกายแบบพิลาทิส และการยืดกล้ามเนื้อแบบอยู่กับที่ต่อ อาการปวดกล้ามเนื้อทราพีเซียสในผู้มีปัญหาออฟฟิศซินโดรม Effects of Pilates and Static Stretching Exercise on Pain of Trapezius Muscle in Office Syndrome
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายแบบพิลาทิสและการยืดกล้ามเนื้อแบบอยู่กับที่ ต่ออาการปวดกล้ามเนื้อทราพีเซียสในผู้มีปัญหาออฟฟิศซินโดรม กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานโรงงาน ภายใต้เงื่อนไข มีอาการปวดกล้ามเนื้อทราพีเซียส 3 เดือนขึ้นไป คลำพบก้อนหรือลำบนกล้ามเนื้อ มีระดับอาการปวดไม่น้อยกว่าระดับ 4 จากระดับ 10 และไม่ได้รับการรักษาด้วยยาและวิธีอื่นใด นั่งทำงานต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 7 ชั่วโมง/วัน ไม่ได้ออกกำลังกายในชีวิตประจำวัน ที่ได้รับวินิจฉัยจากแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด จำนวน 30 คน อายุ 30 – 50 ปี คัดเลือกมาแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ทำการวัดระดับอาการปวดกล้ามเนื้อทราพีเซียส โดยใช้เครื่อง (pressure algometer) เพื่อแบ่งกลุ่มตัวอย่าง จัดเข้ากลุ่มด้วยวิธีเรียงลำดับ แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3กลุ่ม กลุ่ม ละ 10 คน ได้แก่ กลุ่มควบคุม กลุ่มออกกำลังกายแบบพิลาทิส และ กลุ่มออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อแบบอยู่กับที่ ให้ออกกำลังกายตามโปรแกรมที่กำหนดให้ติดต่อกัน 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆ ละ 60 นาที วัดระดับอาการปวดกล้ามเนื้อทราพีเซียส จำนวน 3 ครั้ง คือ ก่อนออกกำลังกาย หลังออกกำลังกายสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์สถิติ โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนรูปแบบการทดสอบวัดซ้ำมิติเดียว การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีของ Tukey กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า อาการปวดกล้ามเนื้อทราพีเซียส ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ก่อนการออกกำลังกาย และหลังออกกำลังกายสัปดาห์ที่ 4 ไม่มีความแตกต่างกัน และหลังสัปดาห์ที่ 8 มีความแตกต่างกัน พบว่า กลุ่มออกกำลังกายแบบพิลาทิส สามารถลดระดับอาการปวดกล้ามเนื้อได้ มากกว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มยืดกล้ามเนื้อแบบอยู่กับที่ แสดงให้เห็นว่า การเคลื่อนไหว พร้อมกับการควบคุมลมหายใจขณะออกกำลังกายมีผลต่อการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และการไหลเวียนเลือดทำงานได้ดีขึ้น ส่งผลให้หลอดเลือดคลายตัว ลดการหดเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณนั้น ทำให้ระดับอาการปวดหลังออกกำลังกายลดลง
คำสำคัญ: พิลาทิส ยืดกล้ามเนื้อแบบอยู่กับที่ อาการปวด,ออฟฟิศซินโดรม
Abstract
This purpose of this research is to study and compare the effects of Pilates and Static Stretching Exercise on pain levels of upper trapezius and range of motion in office syndrome disorder. These sample people are factory’s workers who are hurt in trapezius muscle more than 3 months as condition. Pain levels are not less than 4th level from total is 10 levels. These pain don’t get any heal from pill or method. Also, continually sitting to work is not less than 7 hours per day and never exercise. Selecting people which have 30 persons in age’s range between 30-50 years old as purposive sampling have been judged by doctor and physicist. Involving tool is pressure algometer to classify into 3 groups as 10 persons per each which are controlling, pilates and stretching. Continually doing exercise is 8 weeks (60 minutes per day, 3 days per week). Result testing are made 3 times at beginning, 4th week and 8th week. After that, making summary results to analyses One Way ANOVA and Turkey by setting significant level at 0.5
The results show that pain levels of upper trapezius’s average in controlling, pilates, and stretching before exercising and 4th week are not different. There is different only at 8th week. Additionally, research also shows that pilates can reduce pain levels of trapezius more than other groups. That means movement in joint and breath controlling lead to brain, muscle, joint and blood flow. Those makes reducing in pain levels after exercise.
Keywords: Pilates, Static stretching, Pain, Office Syndrome
Article Details
Critical thinking in journals is the right of the author. The Association of Health Education, Physical Education and Recreation of Thailand is not always required, to create diversity in ideas and creativity.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์