อิทธิพลของปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมการเรียนรู้และปัจจัยร่วมที่มีต่อเจตคติของนักเรียน ในวิชาพลศึกษา Influence of Learning Environment and Co-factors on Students’ Attitude Towards Physical Education

Main Article Content

วิสิทธิ์ ศรีแก้ว

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมการเรียนรู้และปัจจัยร่วมที่มีต่อเจตคติของนักเรียนในวิชาพลศึกษากลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาจำนวน  544 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลคือร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (multiple linear regression) โดยวิธี Forward selection


            ผลการวิจัยพบว่า


            1) ตัวแปรทำนาย 5 ตัวแปร ได้แก่ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในวิชาพลศึกษา (X1) ความชอบวิชา พลศึกษาระดับมาก (X2) (dummy) ความชอบวิชาพลศึกษาระดับปานกลาง(X3) (dummy) ความสนุกสนานในวิชาพลศึกษา (X4) เพศ (X5) (dummy) ที่มีต่อตัวแปรตาม คือ เจตคติในวิชาพลศึกษา (Y) โดยสมการมีค่า R = 0.700 และมีค่า R2 = 0.490 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถเขียนสมการทำนายคะแนน เจตคติ (Y) ในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้


            เจตคติในวิชาพลศึกษา= 19.472 + 0.282(สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในวิชาพลศึกษา) + 7.564(ความชอบวิชาพลศึกษาระดับมาก)


                        + 4.447(ความชอบวิชาพลศึกษาระดับปานกลาง) + 0.323(ความสนุกสนานในวิชาพลศึกษา) + 1.434(เพศ)


            2) ค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรทำนายในรูปคะแนนมาตรฐาน (b) ของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในวิชาพลศึกษา (X1) ความชอบวิชาพลศึกษาระดับมาก(X2) (dummy) ความชอบวิชาพลศึกษาระดับปานกลาง (X3) (dummy) ความสนุกสนานในวิชาพลศึกษา (X4) เพศ (X5) (dummy) ที่มีต่อตัวแปรตาม เท่ากับ 0.461, 0.359, 0.216, 0.165 และ 0.070 ตามลำดับเมื่อนำมาเขียนเป็นสมการทำนายเจตคติในวิชาพลศึกษาในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ


            เจตคติในวิชาพลศึกษา= 0.461(Zสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในวิชาพลศึกษา) + 0.359(Zความชอบวิชาพลศึกษาระดับมาก)


                        + 0.216(Zความชอบวิชาพลศึกษาระดับปานกลาง) + 0.165(Zความสนุกสนานในวิชาพลศึกษา)


                        + 0.070(Zเพศ)


คำสำคัญ: สภาพแวดล้อมการเรียนรู้  เจตคติ  การสอนวิชาพลศึกษา


Abstract   


            The purposes of this research was to study the Learning Environment (LE) and other variables affecting on students’ attitude towards physical education (APE).The sample was 544 students from secondary school by using multi-stage random sampling. The statistical analysis were percentage, average, standard deviation, Pearson’s product moment correlation coefficient and multiple linear regression by Forward method. 


            The research finding were as follows;


            1) The 5 forecasting variables were LE(X1), Like PE High Level (LPEHL)(X2), Like PE Moderate Level (LPEML)(X3), Enjoyment in PE (EPE)(X4), and Sex(X5) that affecting on APE(Y) which the forecasting equation (R = 0.700, and R2 = 0.490) with at statistical significant level .05.  The forecasting equation in term raw score were;


                        APE= 19.472 + 0.282(LE) + 7.564(LPEHL) + 4.447(LPEML) + 0.323(EPE) + 1.434(Sex)


            2) The 5 forecasting variables’ coefficient in term standard score (b) were 0.461, 0.359, 0.216, 0.165 and 0.070respectively.The forecasting equation of standard score were;


                         APE    = 0.461(Z LE) + 0.359(Z LPEHL)+ 0.216(Z LPEML) + 0.165(Z EPE) + 0.070(ZSex)


Keywords: Learning Environment, Attitude, Physical Education  

Article Details

Section
Research Articles