พฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้มาใช้บริการการกีฬาแห่งประเทศไทย Exercising Behaviors of Users of the Sports Authority of Thailand
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายและเปรียบเทียบเจตคติการออกกำลังกายและการปฏิบัติเกี่ยวกับการออกกำลังกายของ ผู้มาใช้บริการการกีฬาแห่งประเทศไทย จำแนกตามเพศและช่วงอายุ โดยใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (accidental sampling) จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ในกรณีที่พบความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยวิธี ของเชฟเฟ่ (Scheffe´)
ผลการวิจัย พบว่า
- ผู้มาใช้บริการ มีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 53
- ผู้มาใช้บริการมีเจตคติเกี่ยวกับการออกกำลังกาย อยู่ในระดับดี (= 3.99)
- ผู้มาใช้บริการมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการออกกำลังกาย อยู่ในระดับปฏิบัติบ่อย (= 3.88)
- พฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้มาใช้บริการการกีฬาแห่งประเทศไทย ระหว่างเพศชายกับเพศหญิง พบว่า มีเจตคติการออกกำลังกายและการปฏิบัติเกี่ยวกับการออกกำลังกายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- พฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้มาใช้บริการการกีฬาแห่งประเทศไทย มีเจตคติเกี่ยวกับการออกกำลังกาย ระหว่างช่วงอายุ 18-32 ปี กับอายุ 33-47 ปี และอายุ 33-47 ปี กับ อายุ 48 ปี ขึ้นไป แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการออกกำลังกาย ระหว่าง ช่วงอายุ 18-32 ปี กับอายุ 33-47 ปี และอายุ 33-47 ปี กับ อายุ 48ปี ขึ้นไป แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ : พฤติกรรมการออกกำลังกาย การมาใช้บริการ การกีฬาแห่งประเทศไทย
Abstract
In this thesis, the researcher studies the exercising behaviors of selected users of the Sports Authority of Thailand (SAT). The researcher also compares attitudes toward exercising as well as the exercising practices of these users as classified by the demographical characteristics of gender and age range. Using the accidental sampling method, the researcher selected a sample population of 400 subjects. The research instrument was a questionnaire constructed by the researcher. In carrying out this investigation, the researcher employed a software computer program. Accordingly, utilizing techniques of descriptive statistics, the researcher analyzed the data collected in terms of percentage, mean (M), and standard deviation (SD). In drawing comparisons between male and female subjects, the researcher employed the independent samples t test technique. In making age range comparisons, the researcher employed the one-way analysis of variance (ANOVA) technique. In cases in which differences were found at a statistically significant level, Scheffé’s multiple comparison method was employed by the researcher.
Findings are as follows:
- The users under study exhibited knowledge of exercising overall at a very good level (88.53 percent).
- The attitudes of the users vis-à-vis exercising were evinced at a good level (M = 3.99).
- Practices concerning exercising of users was at a level of frequent practices (M = 3.88).
- Exercising behaviors of users under study between male and female found to exhibit differences at the statistically significant level of .05 in the attitudes of exercising and exercising practices.
- Exercising behaviors of users under study found to exhibit differences in the attitude toward exercising at the statistically significant level of .05 between the age range of 18-32 years and 33-47 years and the age range of 33-47 years and 48 years or older. Exercising practices exhibited differences at the statistically significant level of .05 between the age range of 18-32 years and 33-47 years and the age range between 18-32 years and 33-40 years and the age range of 33-48 years or older.
Keywords: Exercising Behaviors, Service, Sports Authority of Thailand
Article Details
Critical thinking in journals is the right of the author. The Association of Health Education, Physical Education and Recreation of Thailand is not always required, to create diversity in ideas and creativity.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์