ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มรสหวาน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น Effectiveness Health Education Program Management Using Applied the Health Belief Model to Prevent Sweetened Beverages of Abstract Lower Secondary School students

Main Article Content

พรพิชชา พรมมี

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มรสหวาน  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประชากรคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  โรงเรียนปักธงชัยประชานิรมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 31 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1,544 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2561 จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน (ห้อง ม.3/9)  และควบคุม 30 คน (ห้อง ม.3/11)  โดยทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามปกติ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มรสหวานโดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา (Descriptive statistics) โดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าทีแบบจับคู่ (Paired-Samples t Test) และสถิติการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent-Samples t test)  


               ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการดื่มเครื่องดื่มรสหวาน การรับรู้ความรุนแรงจากผลกระทบของการดื่มเครื่องดื่มรสหวาน การรับรู้ประโยชน์ของการหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มรสหวาน การรับรู้อุปสรรคในการหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มรสหวาน การมีสิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติในการหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มรสหวาน ความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองที่จะหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มรสหวาน สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


 


คำสำคัญ :  โปรแกรมสุขศึกษา พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มรสหวาน ความเชื่อด้านสุขภาพ  


 


Abstract


         This research aimed to study the effects of health education program using applied the health belief model to prevent sweetened beverages of lower secondary school students. The population is lower secondary school students at PakThongChaiPrachaNiramit School. The Secondary Educational Service Area Office31 year 2018. The research population consisted of 1544 students. The samples consisted of 60 students in secondary school in the academic year 2018. Simple random sampling method was divided into experimented students (M.3/9) and controlled students (M.3/11). The samples were selected by Sample Random Sampling. The dietary behavior of experimental group was Health Education Program Management using the Health Belief Model. The control group was provided with regular learning activities of school for 6 class periods. The instrument to collect the data was a questionnaire on promoting dietary behavior to prevent overweight by using received the health education program which applied Health Belief Model. Descriptive statistics, frequency, percentage, mean, standard deviation, the Dependent Samples t-test and the Independent Samples t-test were used to analyze the data.


The findings indicated that; After the experiment the experimental group had an average score of perceived susceptibility of sweetened beverages, perceived severity of sweetened beverages, perceived benefits of not sweetened beverages, perceived barriers of preventing from sweetened beverages, cues to action of not sweetened beverages and intended not to sweetened beverages. It was higher than before the experiment at the .05 level of significance.  


Keywords:   Health Education Program, Sweetened Beverages, Health Belief Model

Article Details

Section
Research Articles