แรงจูงใจทางนันทนาการกลางแจ้ง: การศึกษาเชิงสำรวจกิจกรรมเดินป่าระยะไกล Outdoor Recreation Motivation: An Exploratory Study of Trekking

Main Article Content

ธนกฤต สังข์เฉย

Abstract

บทคัดย่อ


           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบแรงจูงใจในการประกอบกิจกรรมเดินป่าระยะไกลของนักท่องเที่ยวชาวไทย กลุ่มตัวอย่างคือนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เป็นสมาชิกเพจเฟซบุ๊กกลุ่มชมรมคนเดินป่าที่มีประสบการณ์เดินป่าระยะไกลในพื้นที่ธรรมชาติ จำนวน 450 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบสมัครใจ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามวัดแรงจูงใจในการร่วมทริปเดินป่าระยะไกล แบบวัดมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.827 ทำการสำรวจแบบออนไลน์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบหลักและหมุนแกนแบบมุมฉากด้วยวิธีแวริแมกซ์          ผลการวิจัยพบว่าการวิเคราะห์องค์ประกอบแรงจูงใจในการประกอบกิจกรรมเดินป่าระยะไกลมีค่าสถิติไกเซอร์-เมเยอร์–โอลกิน (KMO) เท่ากับ 0.903 และค่าสถิติของบาร์ทเลทท์ Chi-square= 3017.453 การสกัดองค์ประกอบพบว่าได้ 8 องค์ประกอบ ซึ่งมีค่าไอเกนอยู่ระหว่าง 1.029-11.565 และมีค่าความแปรปรวนสะสมขององค์ประกอบที่สกัดได้คิดเป็นร้อยละ 64.330 องค์ประกอบของแรงจูงใจในการประกอบกิจกรรมเดินป่าระยะไกลมีดังนี้ องค์ประกอบที่ 1) การสร้างความมั่นใจให้กับตนเอง ประกอบด้วย 5 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 2) การเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 3) การพัฒนาทักษะและความท้าทาย ประกอบด้วย 5 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 4) สุขภาวะทางจิตใจ ประกอบด้วย 4 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 5) สัมพันธภาพ ประกอบด้วย 4 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 6) ความเพลิดเพลินกับธรรมชาติ ประกอบด้วย 3 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 7) การใคร่ครวญความคิดตนเอง ประกอบด้วย 3 ตัวแปร และองค์ประกอบที่ 8) หลีกหนีความกดดัน ประกอบด้วย 3 ตัวแปร ข้อค้นพบจากการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบกิจกรรมนันทนาการสำหรับการท่องเที่ยวเชิงผจญภัย การพัฒนาสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว


คำสำคัญ : การวิเคราะห์องค์ประกอบ  แรงจูงใจของนักท่องเที่ยว การเดินป่า 


Abstract   


            The objective of this research was to analyze components of the motives to partake in trekking among Thai tourists. The sample group for this research comprised 450 Thai tourists who were members of the Facebook Page “Trekker Club,” which consisted of trekkers who had experience in trekking in natural areas. The sample group of the research was selected through the volunteer sampling technique. The data collection tool for this research was a questionnaire, which was applied to measure the motives for joining trekking trips. With the accuracy value of 0.827, this questionnaire had to be completed online. The analysis of the collected data relied on the exploratory factor analysis, which involved the principal component analysis and rotation by varimax method. The research findings revealed that the Kaiser-Meyer-Olkin (KMO) statistical value and Bartlett’s Test of Sphericity (Chi-square) value of the motives of the components were equal to 0.903 and 3017.453, respectively. There were eight components altogether, with the eigenvalues ranging between 1.029 and 11.56 and the cumulative variance representing 64.330 percent. The components consisted of: 1) Enhanced self-confidence, consisting of five variables; 2) Learning, consisting of four variables; 3) Skill development and challenges, consisting of five variables; 4) Psychological well-being, consisting of four variables; 5) Togetherness, consisting of four variables; 6) Enjoying nature, consisting of three variables; 7) Introspection, consisting of three variables; and 8) Escaping pressure, consisting of three variables. The research findings can be applied to the future design of recreational activities for adventure tourism, to develop tourism products and services.     


                      
Keywords:  Factor Analysis; Tourist Motivation; Trekking   

Article Details

Section
Research Articles