การสร้างเกณฑ์ปกติสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพสําหรับนักเรียนประถมศึกษาปีท่ี 6 โรงเรียนวัดราชโกษา Related Physical Fitness Norms for Prathomsuksa 6 Students at Wat Ratchakosa School

Main Article Content

นันทิศักดิ์ ทองสุทธา

Abstract

บทคัดย่อ


          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพและสร้างเกณฑ์ปกติสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดราชโกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชาย 53 คน และนักเรียนหญิง 60 คน รวม 113 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ AAHPERD Health – Related Physical Fitness Test จำนวน 4 รายการ คือ 1) การวัดส่วนประกอบของร่างกาย (Body Compositions) โดยใช้ดัชนีมวลกาย หรือเรียกว่า Body Mass Index (BMI)  2) นั่งงอตัวไปข้างหน้า (Sit and Reach) 3) ลุก-นั่ง 1 นาที (Modified Sit-Ups) และ4) เดิน/ วิ่ง 1 ไมล์ (One-Mile Walk/Run) (1.6 กิโลเมตร) หาความเชื่อถือได้ (Reliability) โดยวิธีทดสอบซ้ำ (Test-retest Method) ห่างกัน 7 วัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (μ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และหาเกณฑ์ปกติในแต่ละรายการโดยใช้คะแนนดิบ


          ผลการวิจัยพบว่าการสร้างเกณฑ์ปกติสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพสำหรับนักเรียนประถมศึกษา ปีที่ 6 แยกตามรายการได้ดังนี้ 1) รายการวัดส่วนประกอบของร่างกายโดยใช้ดัชนีมวลกาย (BMI) แบ่งเกณฑ์เป็น 5 ระดับ ตามลำดับคือ ผอม ค่อนข้างผอม สมส่วน ค่อนข้างอ้วน และอ้วน นักเรียนชายและหญิงส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างผอม 2) รายการนั่งงอตัวไปข้างหน้า 3) รายการลุก-นั่ง 1 นาที และ 4) รายการเดิน-วิ่ง 1 ไมล์ แบ่งเกณฑ์เป็น 5 ระดับ ตามลำดับคือ ดีมาก ดี ปานกลาง ค่อนข้างต่ำ และต่ำ ในรายการนั่งงอตัวไปข้างหน้า (Sit and Reach) ส่วนใหญ่นักเรียนชายอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำและนักเรียนหญิงอยู่ในเกณฑ์ดี ในรายการลุก-นั่ง 1 นาที และรายการเดิน/วิ่ง 1 ไมล์ นักเรียนชายและหญิงส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง สำหรับการวิจัยครั้งนี้พบว่า เกณฑ์ปกติสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพสามารถนำไปใช้ได้สำหรับนักเรียนชายและนักเรียนหญิง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนวัดราชโกษาได้


คำสำคัญ:  สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ  เกณฑ์ปกติสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6


Abstract   


               The purposes of this research were to conduct a study on the Health-Related Physical Fitness and to construct the Health-Related Physical Fitness Norms for Prathomsuksa 6 students at WatRatchakosa School. The study population consisted of 113 students (53 males and 60 females). The research instrument used in this study was the AAHPERD Health-Related Physical Fitness Test in 4 components. The four component test items were: 1) the Body Composition by measuring Body Mass Index (BMI), 2) Sit and Reach, 3) Modified Sit-Ups and, 4) One-Mile Walk/Run. The Test-retest method was employed 7 days apart to determine the reliability. The data were analyzed by using percentage, means (μ), standard deviation (σ), and setting the norms on each test item from the total score.


          The results of this study, which were based on the four components of the Health-Related Physical Fitness Test, were as follows: 1) the Body Composition were categorized into 5 criteria: underweight, marginally underweight, in normal range, overweight and obese. The male and female students were scored mostly at marginally underweight level. For items 2) Sit and Reach, 3) Modified Sit-Ups, and 4) One-Mile Walk/Run were categorized into 5 criteria: excellent, good, fair, poor, and very poor. The male students scored mostly at poor level and female students scored mostly at good level on Sit and Reach. The male and female students scored mostly at fair level on both Modified Sit-Ups and One-Mile Walk/Run. The result of the study created statistical norms which can be utilized as comparative data in future test for Prathomsuksa 6 male and female students at Wat Ratchakosa School. 


Keywords: Health-Related Physical Fitness / Health-Related Physical Fitness Norms / Prathomsuksa 6 students

Article Details

Section
Research Articles