ผลการใช้โปรแกรมสร้างเสริมความปลอดภัยโดยประยุกต์ทักษะชีวิตร่วมกับแนวคิดการกำกับตนเอง ที่มีต่อการลดความเสี่ยงในการจมน้ำของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น Effects of Implementing Safety Enhancing Program Applying Life Skillsand Self-Regulated Approach on Decreasing the Drowning Risk of Lower Secondary School Students

Main Article Content

อรรถวุฒิ เกียรติสุข

Abstract

บทคัดย่อ


           วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมสร้างเสริมความปลอดภัยโดยประยุกต์ทักษะชีวิตร่วมกับแนวคิดการกำกับตนเองที่มีต่อการลดความเสี่ยงในการจมน้ำของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 40 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน ที่ได้รับโปรแกรมสร้างเสริมความปลอดภัยโดยประยุกต์ทักษะชีวิตร่วมกับแนวคิดการกำกับตนเอง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 1ชั่วโมง 30 นาที และกลุ่มควบคุม จำนวน 20 คน ที่ไม่ได้รับโปรแกรมสร้างเสริมความปลอดภัยโดยประยุกต์ทักษะชีวิตร่วมกับแนวคิดการกำกับตนเอง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมสร้างเสริมความปลอดภัยโดยประยุกต์ทักษะชีวิตร่วมกับแนวคิดการกำกับตนเอง มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.94 และแบบวัดการปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงในการจมน้ำมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.98  ค่าความเที่ยง 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าทีที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05


                ผลการวิจัยพบว่า


  1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติตนเพื่อลดความเสี่ยงในการจมน้ำของกลุ่มทดลอง หลังการทดลองเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติตนเพื่อลดความเสี่ยงในการจมน้ำของกลุ่มทดลอง หลังการทดลองเพิ่มขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ : โปรแกรมสร้างเสริมความปลอดภัย  ทักษะชีวิต  แนวคิดการกำกับตนเอง  การลดความเสี่ยงในการจมน้ำ


Abstract   


           The purposes of this research was to study the effects of implementing safety enhancing program applying life skill and self–regulated approach on decreasing the drowning risk of lower secondary school student. The sample was 40 lower secondary school students. Divided into 2 groups with 20 students in the experimental group received the implementing safety enhancing program applying life skill and self – regulated for 8 weeks, 2 days a week, 1:30 hours a day and 20 students in control group were not received the implementing safety enchanting program applying life skill and self – regulated. The research instruments were composed of the implementing safety enhancing program applying life skill and self – regulated with IOC 0.94 and risk of drowning evaluation form with IOC 0.98 the reliability was 0.83. The data were then analyzed for mean, standard deviations and t–test by using statistically significant differences at .05 levels.


               The research findings were as follows:


               1) The mean score of decreasing the drowning risk of the experimental group after received the implementing safety enchanting program were significantly higher than before at .05 levels.


               2) The mean score of decreasing the drowning risk of the experimental group after received the implementing safety enchanting program were significantly higher than the control group at .05 levels.


Keywords:   Safety enhancing program / Life skill / Self–regulated approach / Decreasing the drowning risk

Article Details

Section
Research Articles